วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

วันนี้เพิ่งได้รับของจาก บจ. อีทีที ทำการแกะซะ ในกล่องก้มี

  1. บอร์ด ET-REMOTE MP3 V2 
  2. CD-ROM คู่มือ
  3. สาย ET-RS232 DB9 PIN
  4. สาย 4 PIN RS232 หัวท้าย




บอร์ดนี้ทำงานได้ 4 mode คือ Command,List Song,MP3_SW และ Trig Mode





ซึ่งมีลูกค้าอยากได้ เครื่องให้คำแนะนำความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคต่างๆ เป็นเสียงพูด MP3 
ผมจึงใช้ Trig Mode โดยใช้ Push Button เป็นการเลือกไฟล์เสียงเพลง ถ้าทำเสร็จจะมาโพสให้ดูนะครับ 
ข้อมูลเพิ่มเติม http://ett.co.th/prod2012/mp3/et-remote-mp3-v2.html


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

           คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการลบค่าของข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทาง S1 และลบออกด้วยอุปกรณ์ต้นทาง S2 และจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง D
           ตัวอย่างเช่น
S1 =  10
S2 =  9
D = ?

จากสมการ S1 - S2  =  D แทนค่าในสมการ 10 - 9 = 1 คำตอบ D = 1 


          อธิบายจากรูป Subtraction มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL สำหรับ 16 บิต คือ SUB (Subtraction) และ SUBP (Subtrction Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 7  ส่วน 32 บิต คือ DSUB (Double Subtraction) และ DSUBP (Double Subtraction Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 13

แล้ว SUB กับ SUBP ต่างกันอย่างไร SUB จะทำงานตลอดเมื่อ Active แต่ SUBP จะทำงานครั้งเดียวที่ขอบขาขึ้น นั่นเอง

แล้ว SUB กับ DSUB ล่ะต่างกันอย่างไร คำตอบคือขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้งาน ถ้าข้อมูลไม่เกิน 16 บิต ก็ใช้ SUB ส่วน 32 บิต ก็ใช้ DSUB

ตัวอย่างโปรแกรม PLC SUB 16 บิต


เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 10
D12 = 9
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 - D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 1 ดังรูปด้านล่าง


ตัวอย่างโปรแกรม PLC DSUB 32 บิต


เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 100000
D12 = 90000
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 - D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 10000  ดังรูปด้านล่าง


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าตัวเลข 16 บิต และ 32 บิต

อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Integer_(computer_science) 

คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ
ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi



         

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

    ฟังก์ชัน Addtion : ADD ทำหน้าที่รวมค่าข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทางและจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง คำสั่งประยุกต์ ADD ที่ใช้ในการรวมค่าข้อมูล ทำได้โดยการใช้คำสั่ง  [ADD (S1) (S2) (D)] โดย S1 + S2 = D เช่น 2 + 4 = D = 6 เป็นต้น


   คำสั่งประยุกต์ Addtion ADD ,ADDP (Addition pulse) ใช้สำหรับแบบ 16 บิต มีโปรแกรม Steps เท่ากับ 7 Step และ DADD (Double Addition),DADDP (Double Addtion pulse) ใช้สำหรับแบบ 32 บิต มีโปรแกรม Step เท่ากับ 13 

จากรูปตัวอย่างด้านบนถ้านำมาเขียนโปรแกรม 


กำหนดให้ D10 = 2 ,D12 = 4  
เมือหน้าสัมผัส X0 ทำงาน หรือ ON 
D14 = D10 + D12 = 6 ดังรูปด้านล่าง


สำหรับแบบ 32 บิต สามารถเขียนโปรแกรมได้ดังรูปด้านล่าง
กำหนดให้ D10 = 100000 ,D12 = 100000
เมื่อหน้าสัมผัส X0 ทำงาน หรือ ON
D14 = D10 + D12 = 200000 ดังรูปด้านล่าง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าตัวเลข 16 บิต และ 32 บิต

อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Integer_(computer_science)  

คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ
ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

วันนี้จะพามารู้จัก PLC ค่าย Omron แต่เป็นรุ่นเก่าแล้วนะครับ พอดีไปซ่อมเครื่องจักรมา เป็นเครื่องอัดยาง เริ่มเลยครับ




เป็น PLC แบบ Modular สามารถเพิ่ม I/O Analog Module หรืออื่นได้ ใช้ในงาน Position Control ,Networking ,Process Control



มี Power Supply Unit รุ่น PA203 (สี่เหลี่ยมสีม่วง)
   ไฟแสดงสถานะของ PLC (สี่เหลี่ยมสีเขียว)
   รุ่น PLC ในที่นี้ CQM1 (วงรีสีแดง)
   รุ่น CPU ในที่นี้ CPU41-V1(วงรีสีเหลืองอ่อน)


OCH คือ Input Module
ID212 เป็น Input Module จำนวน 16 point
OC222 เป็น Output Module จำนวน 16 point

I/O CPU41-V1 สามารถเพิ่มได้สูงสุด 192 point 




ข้อมูลเพิ่มเติมจาก datasheet








วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ด้านไฟฟ้า คอนโทรล อิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาร คอมพิวเตอร์
- รับเขียนโปรแกรม ควบคุม คอนโทรลเลอร์ PIC, MCS, AVR, Zigbee, Wireless module, etc.  เช่น ควบคุมมอเตอร์, เชื่อมต่อและควบคุมจอLCD, คีย์บอร์ด, GSM module, มือถือ, GPS, เซ็นเซอร์ต่างๆ เป็นต้น
- รับเขียนโปรแกรม ภาษาซี (C programming),
  Visual Basic, C++, C#, MATLAB
- รับเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC,AVR
  - โปรแกรมลงไมโครคอนโทรลเลอร์ของจริง
  - เชื่อมต่อกับอุปกรณ์จริง ได้แก่ LED, 7-segments,
    LCD, relay, คีย์สวิตช์เมตริก เป็นต้น
- รับออกแบบวงจร ออกแบบแผ่นปริ้น(PCB) อิเล็กทรอนิกส์
- รับปรึกษาโปรเจค นักศึกษา ปริญญาตรี, ปวช., ปวส.

ติดต่อ พรประเสริฐ 080-422-4466
           Line ID : Tom.Pornprasert

      อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลข (Data Registers) ใช้สัญลักษณ์ D ตามด้วยลำดับที่ของอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลขเป็นเลขฐานสิบเช่น D001-D0009,D019 เป็นต้น โดยอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลขเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล (DATA) แบบตัวเลขหรือข้อมูลในรูปแบบของ 16 บิต/32บิต สามารถใช้เป็นค่าตัวเลขตั้งค่าให้กับอุปกรณ์หน่วงค่าเวลาหรืออุปกรณ์นับจำนวน

แบ่งได้ดังนี้

  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขทั่วไป  FX1N,FX2N >> D0-D199   FX3U >> D0-D511 
  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขจำค่าได้ FX1N >> D200-D512   FX2N>> D200-D7999          FX3U>>D512-D7999
  • เก็บข้อมูลชนิดพิเศษ FX1N,FX2N >> D8000-D8255  FX3U >> D8000-D8511
  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขชนิดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำFX1N >> D1000-D2999    FX2N, FX3U >>  D1000-D7999 
  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขภายนอก






วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557


Mitsubishi Q Series PLC Cable


ถ้ามี USB Serial อยู่แล้วให้ Wiring ตามรูป หรือจะสั่งซื้อจากทีมงานเราก็ได้นะครับ 



 ขายสาย PLC Mitsubishi Q Series ราคา 2,500 บาท




วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

รับทำโปรเจคของวิศวะ สาขา ไฟฟ้า  , อิเล็ค , เครื่องกล

เขียนวงจรไฟฟ้า , รับออกแบบแผ่นปริ๊น , รับสอนโปรแกรม

ติดต่อ ต้อม 080-422-4466 line: tom.pornprasert
รับทำโปรเจ็ค: อิเล็กทรอนิกส์, ไมโครคอลโทรลเลอร์,หุ่นยนต์/Robot, VB VC#และอื่นๆ

Electronics & Microcontroller Designs
1. ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
- วงจรขยายสัญญาณเสียง
- วงจรเครื่องส่ง AM/FM
- และวงจรไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
2. ไมโครคอนโทรลเลอร์ RABBIT RCM2200, RCM3710 และ MCS-51
- ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านอินเตอร์เน็ต
- และเขียนโปรแกรมคอนโทรลอื่นๆ
3. หุ่นยนต์/Robot

บริการออกแบบลายวงจรพิมพ์/ลายปริ๊นซ์

Circuit Design
ออกแบบวงจรและทำแผ่นวงจรพิมพ์/PCB(แผ่นปริ๊นซ์) ด้วย Protel


พัฒนาโปรแกรม
VB และ VC# สื่อสารฮาร์ดแวร์ เช่น ไมโครคอลโทรลเลอร์ต่างๆ

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวทางการเก็บรักษา PLC ตัวสำรองอุตสาหกรรม

โรงงานส่วนมากจะมีอุปกรณ์ PLC เพื่อสำรองไว้ในกรณีเครื่องจักรมีปัญหาจะได้มีไว้ทดลองเปลี่ยนโดยมีแนวทางการเก็บรักษาทั่วไป ดังนี้
  1. ไม่เก็บไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง (ต้องไม่เกิน 75 oC) หรือความชื้นสูง (ต้องไม่เกิน 90% RH) จากการวัดความชื้นในช่วงน้ำท่วมนิคมอุตสาหรกรรมที่ผ่านมา กรณีน้ำท่วมชั้นล่าง ห้องที่อยู่ชั้น 2 จะมีความชื้นไม่เกิน 80%RH
  2. ไม่เก็บไว้ในสถานที่ที่ได้รับแสงแดดโดยตรง
  3. เก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่มีฝุ่น และไม่ใกล้ที่เก็บสารเคมีที่มีการกัดกร่อน
  4. แบตเตอรี่ เช่น A6BAT, Q6BAT รวมทั้งขนิดที่เป็นแบบกระดุม (Lithium coin) จะมีความจุลดลงเรื่อยๆ (Self-discharge) จึงไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 5 ปี
  5. PLC ที่มีส่วนภาคจ่ายไฟ เช่นโมดูล Power supply, PLC ที่มี Power supply ในตัว, โมดูล Analog output จะมี Electrolytic capacitor เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่ง Capacitor ชนิดนี้จะมีความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าลดลงถ้าไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน จนอาจใช้งานไม่ได้ขณะนำมาใช้จริงในเครื่องจักร และโมดูลที่เก็บไว้เป็นเวลานาน จะมีอายุการใช้งานสั้นกว่าโมดูลที่ถูกใช้งานจริง การเก็บรักษาโมดูลในกลุ่มนี้ จึงต้องนำโมดูลมาใช้งานเพื่อกระตุ้นให้ Capacitor ได้มีการเก็บประจุและคายประจุอย่างเหมาะสม ดังนี้
    1. นำโมดูลที่เก็บไว้มาเปลี่ยนสลับกับโมดูลที่ใช้งานจริงทุกๆ1 ปี หรือ 2 ปี
    2. ทุกๆ 2 ปี หรือ 3 ปี นำโมดูลที่เก็บไว้มาจ่ายไฟเลี้ยงโดยใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสตรงด้วยก้ใช้แหล่งจ่ายไฟตรงแบบปรับแรงดันได้ ค่อยๆปรับเพิ่มจาก 0V ใหถึงระดับที่ใช้งานจริงโดยใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที แล้วเปิดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557



ติดต่อ ทาง line : tom.pornprasert
โทรศัพท์ 080-422-4466

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557


อุปกรณ์ประกอบด้วย
1. touch screen easy veiw 
2.FX2N-232BD
3.FX2N-128MR

รูปแบบ diagram
 1.ทำการ wiring
















































2.เราทำการตั้งค่า parameter ของ PLC กันก่อนโดยไปที่ Parameter > PLC system(2) ตั้งค่าตามรูป ทำการ write parameter ลง PLC แล้ว ปิด - เปิด PLC ใหม่อีกครั้ง

3.ตั้งค่า HMI 



เป็นอันเสร็จการเชื่อมต่อกัน อิอิอิ ขอแถมด้านล่าง










วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

รับออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติต่างๆ
- โปรแกรมและวงจรด้านไมโครคอนโทรลเลอร์
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลต่างๆ สำหรับเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์
- ผลิตเครื่องจักร, หุ่นยนต์, บอร์ดแสดงผลสำหรับอำนวยความสะดวกในสายการผลิต
- ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ด้านไมโครคอนโทรลเลอร์
- และอื่นๆ ที่เกียวกับระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์


Design of the automatic control system.
- Program and circuit of the Microcontroller.
- Program Computer, Database to connect microcontroller.
- Design machine, Robot, display board for the production line.
- Design other about the system of the Electronic, Electrical and Computer.

ติดต่อ 080-422-4466

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

เป็นฟังก์ชันที่ move ข้อมูล เป็นชุดข้อมูล


เมื่อ X0 และ X1= On จะ move ข้อมูลตามรูปนี้ 

ตัวอย่าง 

ใส่ข้อมูล d5 = 5 ,d6 = 6 ,d7 = 7


ผลลัพธ์



ใส่ข้อมูล d20 = 20 ,d21 = 21 ,d22 =22 ,d23 = 23


ผลลัพธ์

สรุป BMOV ใช้สำหรับ Move ข้อมูล เป็นชุดข้อมูล

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

1. design วงจรตามรูป

2. list อุปกรณ์ที่ต้องใช้

Product Part No No Price/unit Price(Bath)
Max232cpe+ 1 34.5 34.5
MINI DIN PLUG 8-PINS 1 20.33 20.33
DB-9 1 6.45 6.45
 D-SUB COVER PLASTIC 1 6.26 6.26
MULTICORE SHIELD CABLE 24AWG 6 WAYS 4 27 108
Capacitor 1uF 50 V 4 0.44 1.76
R 500 Ohm 1 0.15 0.15
สั่งทำแผ่น PCB 1 142 142
กล่องวงจร 1 25 25
รวม 344.45


3.ทำแผ่นปริ้นตามที่เรา design ไว้

4.บัดกี้อุปกรณ์และสายสัญญาณ(ผมทดลองด้วยบอร์ดไข่ปลาครับบ)


5.คู่มือการ wiring 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ยินดีให้คำปรึกษาครับ
080-422-4466