วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

        รับทำโปรเจค ระยอง, รับทำโปรเจ็คจบ ระยอง, รับทำโปรเจคนักศึกษา ป.ตรี ปว.ช. ปว.ส, ระยอง, รับทำโปรเจค MCS-51, รับทำโปรเจค PIC, รับทำโปรเจค Arduino, รับทำโปรเจค LabVIEW, ระยอง รับทำวิจัย, โปรเจคคอนโทล, ออกแบบชุดการสอนทางวิศวกรรม, ออกแบบระบบเก็บข้อมูลการทดลอง, รับทำระบบตั้งเวลาทำงานอัตโนมัติ, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, ชลบุรี

      ติดต่อ พรประเสริฐ 080-422-4466
      Email: automation999.engineer@gmail.com
      Line ID: Tom.Pornprasert


Elec2you จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ พีแอลซี เป็นต้น ราคาถูกที่สุด

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

วันนี้เพิ่งได้รับของจาก บจ. อีทีที ทำการแกะซะ ในกล่องก้มี

  1. บอร์ด ET-REMOTE MP3 V2 
  2. CD-ROM คู่มือ
  3. สาย ET-RS232 DB9 PIN
  4. สาย 4 PIN RS232 หัวท้าย




บอร์ดนี้ทำงานได้ 4 mode คือ Command,List Song,MP3_SW และ Trig Mode





ซึ่งมีลูกค้าอยากได้ เครื่องให้คำแนะนำความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคต่างๆ เป็นเสียงพูด MP3 
ผมจึงใช้ Trig Mode โดยใช้ Push Button เป็นการเลือกไฟล์เสียงเพลง ถ้าทำเสร็จจะมาโพสให้ดูนะครับ 
ข้อมูลเพิ่มเติม http://ett.co.th/prod2012/mp3/et-remote-mp3-v2.html


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

           คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการลบค่าของข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทาง S1 และลบออกด้วยอุปกรณ์ต้นทาง S2 และจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง D
           ตัวอย่างเช่น
S1 =  10
S2 =  9
D = ?

จากสมการ S1 - S2  =  D แทนค่าในสมการ 10 - 9 = 1 คำตอบ D = 1 


          อธิบายจากรูป Subtraction มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL สำหรับ 16 บิต คือ SUB (Subtraction) และ SUBP (Subtrction Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 7  ส่วน 32 บิต คือ DSUB (Double Subtraction) และ DSUBP (Double Subtraction Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 13

แล้ว SUB กับ SUBP ต่างกันอย่างไร SUB จะทำงานตลอดเมื่อ Active แต่ SUBP จะทำงานครั้งเดียวที่ขอบขาขึ้น นั่นเอง

แล้ว SUB กับ DSUB ล่ะต่างกันอย่างไร คำตอบคือขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้งาน ถ้าข้อมูลไม่เกิน 16 บิต ก็ใช้ SUB ส่วน 32 บิต ก็ใช้ DSUB

ตัวอย่างโปรแกรม PLC SUB 16 บิต


เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 10
D12 = 9
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 - D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 1 ดังรูปด้านล่าง


ตัวอย่างโปรแกรม PLC DSUB 32 บิต


เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 100000
D12 = 90000
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 - D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 10000  ดังรูปด้านล่าง


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าตัวเลข 16 บิต และ 32 บิต

อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Integer_(computer_science) 

คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ
ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi



         

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

    ฟังก์ชัน Addtion : ADD ทำหน้าที่รวมค่าข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทางและจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง คำสั่งประยุกต์ ADD ที่ใช้ในการรวมค่าข้อมูล ทำได้โดยการใช้คำสั่ง  [ADD (S1) (S2) (D)] โดย S1 + S2 = D เช่น 2 + 4 = D = 6 เป็นต้น


   คำสั่งประยุกต์ Addtion ADD ,ADDP (Addition pulse) ใช้สำหรับแบบ 16 บิต มีโปรแกรม Steps เท่ากับ 7 Step และ DADD (Double Addition),DADDP (Double Addtion pulse) ใช้สำหรับแบบ 32 บิต มีโปรแกรม Step เท่ากับ 13 

จากรูปตัวอย่างด้านบนถ้านำมาเขียนโปรแกรม 


กำหนดให้ D10 = 2 ,D12 = 4  
เมือหน้าสัมผัส X0 ทำงาน หรือ ON 
D14 = D10 + D12 = 6 ดังรูปด้านล่าง


สำหรับแบบ 32 บิต สามารถเขียนโปรแกรมได้ดังรูปด้านล่าง
กำหนดให้ D10 = 100000 ,D12 = 100000
เมื่อหน้าสัมผัส X0 ทำงาน หรือ ON
D14 = D10 + D12 = 200000 ดังรูปด้านล่าง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าตัวเลข 16 บิต และ 32 บิต

อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Integer_(computer_science)  

คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ
ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi