วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวทางการเก็บรักษา PLC ตัวสำรองอุตสาหกรรม

โรงงานส่วนมากจะมีอุปกรณ์ PLC เพื่อสำรองไว้ในกรณีเครื่องจักรมีปัญหาจะได้มีไว้ทดลองเปลี่ยนโดยมีแนวทางการเก็บรักษาทั่วไป ดังนี้
  1. ไม่เก็บไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง (ต้องไม่เกิน 75 oC) หรือความชื้นสูง (ต้องไม่เกิน 90% RH) จากการวัดความชื้นในช่วงน้ำท่วมนิคมอุตสาหรกรรมที่ผ่านมา กรณีน้ำท่วมชั้นล่าง ห้องที่อยู่ชั้น 2 จะมีความชื้นไม่เกิน 80%RH
  2. ไม่เก็บไว้ในสถานที่ที่ได้รับแสงแดดโดยตรง
  3. เก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่มีฝุ่น และไม่ใกล้ที่เก็บสารเคมีที่มีการกัดกร่อน
  4. แบตเตอรี่ เช่น A6BAT, Q6BAT รวมทั้งขนิดที่เป็นแบบกระดุม (Lithium coin) จะมีความจุลดลงเรื่อยๆ (Self-discharge) จึงไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 5 ปี
  5. PLC ที่มีส่วนภาคจ่ายไฟ เช่นโมดูล Power supply, PLC ที่มี Power supply ในตัว, โมดูล Analog output จะมี Electrolytic capacitor เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่ง Capacitor ชนิดนี้จะมีความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าลดลงถ้าไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน จนอาจใช้งานไม่ได้ขณะนำมาใช้จริงในเครื่องจักร และโมดูลที่เก็บไว้เป็นเวลานาน จะมีอายุการใช้งานสั้นกว่าโมดูลที่ถูกใช้งานจริง การเก็บรักษาโมดูลในกลุ่มนี้ จึงต้องนำโมดูลมาใช้งานเพื่อกระตุ้นให้ Capacitor ได้มีการเก็บประจุและคายประจุอย่างเหมาะสม ดังนี้
    1. นำโมดูลที่เก็บไว้มาเปลี่ยนสลับกับโมดูลที่ใช้งานจริงทุกๆ1 ปี หรือ 2 ปี
    2. ทุกๆ 2 ปี หรือ 3 ปี นำโมดูลที่เก็บไว้มาจ่ายไฟเลี้ยงโดยใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสตรงด้วยก้ใช้แหล่งจ่ายไฟตรงแบบปรับแรงดันได้ ค่อยๆปรับเพิ่มจาก 0V ใหถึงระดับที่ใช้งานจริงโดยใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที แล้วเปิดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น