วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556


เป็นขั้นตอนการดึงข้อมูลโปรแกรมที่อยู่ใน PLC Mitsubishi ออกมเพื่ออ่าน
เริ่มต้นไปที่ Online > Read from PLC . . .
 จากนั้นเลือก PLC Series กด OK

ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับ PLC ถ้า Successfuly แสดงว่าใช้ได้ ถ้าไม่ดูวิธีตาม


กดปุ่ม Param+Prog


กดปุ่ม Excute และ Yes ยืนยันการดึงข้อมูล

โหลดเสร็จแร้ว...

กดปุ่ม close

จะได้โปรแกรมตามรูป


วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และ PLC

ไปที่ online > Transfer setup...

ไปที่ tab PC side I/F คลิกที่ icon Serial USB เลือก RS-232C และเลือก com port และ Transmission speed ให้ตรงกัน กดปุ่ม OK


เพิ่มเติม การดู comport  คลิกขาวที่ computer >Manage >Device Manager >Ports




กดปุ่ม Connection test เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับPLC

ถ้าคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อ PLC ได้ จะมีข้อความแจ้งเตือนดังรูปด้านล่าง


การเขียนโปรแกรมลง PLC 
ไปที่ Online>Write to PLC ...


คลิกปุ่ม Param+Prog 


กดปุ่ม Excute ตอบ Yes



ตอบ Yes เพื่อหยุด PLC ก่อนเขียนโปรแกรมลง PLC

รอ...โหลดเสร็จแล้วก็กด Yes เพื่อสั่งให้ PLC RUN

กดปุ่ม OK เป็นอันเสร็จพิธีการเขียนโปรแกรมลง PLC  


หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้ที่อ่าน ถ้าสงสัยอะไรสามารถถามได้นะครับ

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันนี้จะสอนการใช้งานโปรแกรม GX Developer เบื้องต้น มาเริ่มกันเลยครับ
เมื่อติดตั้งโปรแกรม GX Developer เสร็จให้คลิก start>all program>MELSOFT Application>GX Developer ตามรูปด้านล่าง






























หน้าจอโปรแกรม GX Developer มี 4 ส่วน คือ

  1. Project data list
  2. Toolbar
  3. Status bar
  4. Program Mode Area 
ดังรูปด้านล่าง



มารู้จักส่วนแรก Project Data List เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแสดงรายละเอียดของโปรแกรม แบ่งออกเป็น ส่วนของโปรแกรมที่ออกแบบ(Program), แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์(Device Comment) และส่วนที่แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์์ใน PLC รุ่นที่เลือกใช้(PLC Parameter)





ส่วนที่ 2 Toolbar เป็นส่วนที่นำเสนอปุ่มแสดงคำสั่งที่ใช้ในการใช้งานออกแบบโปรแกรม PLC


ส่วนที่ 3 Status bar ใช้สถานะของโปรแกรมในขณะนั้น

ส่วนที่ 4 Program Mode Area เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมตามลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการในการออกแบบโปรแกรม ซึ่งสามารถเลือกรูปแบบการออกแบบ เช่น การออกแบบโปรแกรม Ladder,IL เป็นต้น


การสร้างโปรแกรม
ไปที่ Project > New Project
























เลือก PLC Series ดูจากตัว PLC ว่าเป็นรุ่นอะไรเลือกให้ตรงครับ

























เลือก PLC Type ดูจากตัว PLC

























เลือก Program type มี 2 ภาษา Ladder,SFC







วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับทำโปรเจค Microcontroller และงานอิเล็กทรอนิกส์  ทุกตระกูล
รับเขียนโปรแกรม Microcontrolle  PIC AVR MCS ARM  STM32
รับเขียนโปรแกรม android ติดต่อ อุปกรณ์ภายนอก
รับเขียนโปรแกรม Image Processing 
Project ที่รับทำเช่น
-Project เกี่ยวกับการควบคุมหุ่นยนต์ Control มอเตอร์
-ออกแบบวงจรที่ใช้ ไมโครคอนโทรเลอร์ทุกการใช้งาน
-Display 7 Segment แสดงผลขนาดเล็ก ถึง ใหญ่ เช่น นาฬิกา,วัดความชื้นและอุณหภูมิ-เครื่องวัดอุณหภูมิ และการแสดงผลอื่นๆ
-ชุดคอนโทรมอเตอร์ DC Motor ,Stepper Motor, Servo Motor
-ระบบควบคุมระยะไกลหรือระบบไร้สายต่างๆ
-เครื่องควบคุมอุปกรณ์ด้วยรีโมตคอนโทรล
-งาน Visual Basic และฐานข้อมูลต่างๆ
-เครื่องต้นแบบต่างๆ

               คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการแปลงค่าตัวเลขของจุดทศนิยม ของข้อมูลเชิงตัวเลขในอุปกรณ์ต้นทางให้เป็นตัวเลข interger และเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในอุปกรณ์ปลายทาง การใช้คำสั่งประยุกต์ INT ที่ใช้ในการแปลงค่าตัวเลขจุดทศนิยมให้เป็นตัวเลข Integer ทำได้โดยการใช้คำสั่ง [INT (S) (D)] โดยที่ S จะเป็นอุปกรณ์ต้นทาง หรือค่าคงที่เชิงตัวเลขที่แสดงค่าทางจุดทศนิยม และ D คืออุปกรณ์ปลายทางที่ใช้ในการเก็บผลลัพธ์ค่าที่ได้จากการแปลงค่า
              คำสั่งประยุกต์ Floating Point Integer สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL แบบ 16 บิต Floating Point Integer คือ INT และคำสั่ง Floating Point Integer pluse คือ INTP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 5 แบบ 32 บิต Double Floating Point Interger คือ DINT และคำสั่ง Double Floating Point Integer pulse คือ DINP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 9
             ตัวอย่างการใช้งานคำสั่งประยุกต์

โหลดโปรแกรมได้ 





การสื่อสารอนุกรม RS-485


 
       RS-485 เป็นหนึ่งในมาตรฐานการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Communication) ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (Electronic Industries Alliance (EIA)) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่ต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวบนข่ายสายเดียวกัน โดยมีระยะทางการสื่อสารที่ไกลขึ้น และมีความเร็วรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับมาตรฐานการสื่อสาร RS-232 ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกัน
       เหตุที่การสื่อสาร RS-485 สามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้นนั้น เป็นเพราะ RS-485 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียล (Differential Mode) ขณะที่ RS-232 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน(Common Mode) สัญญาณรับส่งแบบคอมคอนนั้นจะใช้สัญญาณกราวด์ (Ground Signal) เป็นตัวเปรียบเทียบปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อระดับสัญญาณกราวด์ของตัวรับและตัวส่งไม่เท่ากัน ยิ่งระดับสัญญาณแตกต่างกันมากเท่าไร ก็ยิ่งมีผลต่อความผิดพลาดในการสื่อสารมากขึ้นเท่านั้น เพราะการตีความข้อมูลที่รับเข้ามาว่าเป็นศูนย์หรือหนึ่ง จะดูจากระดับความแตกต่างระหว่างสัญญาณกราวด์กับสัญญาณข้อมูลที่รับเข้ามา และยิ่งเมื่อมีสัญญาณรบกวน สอดแทรกเข้ามาในสายสัญญาณมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การตีความสัญญาณมีโอกาสผิดพลาดสูงมากยิ่งๆ ขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือระดับความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลจะสูงขึ้นจนไม่สามารถสื่อสารกันได้ หรือต้องลดระดับความเร็วในการสื่อสารลงมา
       ขณะที่สัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียลนั้น จะไม่ใช้สัญญาณกราวด์เป็นระดับอ้างอิงหรือเปรียบเทียบ แต่จะดูที่ความต่างของสัญญาณของคู่สายเป็นสำคัญ ทำให้ปัญหาเรื่องความแตกต่างของสัญญาณกราวด์ ระหว่างอุปกรณ์รับและอุปกรณ์ส่งหมด ไป (เพราะไม่ถูกนำมาใช้อ้างอิง) และถ้าหากคู่สายที่ใช้รับส่งสัญญาณ พันกันเป็นเกรียวก็จะยิ่งส่งผลให้สัญญาณรบกวนจากภาย นอกที่สอดแทรกเข้ามาในคู่สายก็จะถูกกำจัดออกไป ได้โดยง่าย เป็นผลให้การสื่อสาร RS-485 ทนต่อสัญญาณรบกวนภายนอก ได้สูง สามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น และเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน
       ตารางด้านล่างแสดงคุณสมบัติของการสื่อสาร RS-485 เปรียบเทียบกับมาตรฐานการสื่อสารอนุกรมอื่น ๆ
       จากตารางจะพบว่า RS-422 และ RS-485 มีความเร็วในการสื่อสารสูงกว่า RS-232 เป็นอย่างมาก ขณะที่ RS-232 เป็นมาตรฐาน การสื่อสารอนุกรมเดียวที่สามารถสื่อสารแบบสองทางพร้อมกันได้ (Full Duplex) ขณะที่มาตรฐาน การสื่อสาร อนุกรมอื่น ๆ ทำได้ เพียงแบบสองทางไม่พร้อมกัน (Half Duplex) ทั้งนี้เนื่อง จาก RS-232 เป็นการ สื่อสารแบบเชื่อมต่อจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) นั้นเอง ขณะที่มาตรฐานอื่น ๆ เป็นแบบเชื่อมต่ออุปกรณ์รับส่งหลาย ตัวบนสื่อสัญญาณเดียวกัน (Multidrop)
       การเชื่อมต่ออุปกรณ์ RS-485 เป็นเครือข่าย (network) ได้เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มาตรฐานการสื่อสาร RS-485 เป็นที่นิยมนำมาใช้งานในงานควบคุมและตรวจวัด อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 โดยทั่วไปนั้น จะ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่ายได้ 32 อุปกรณ์ ถ้าความต้านทานขาเข้า (Input Resistance) ของอุปกรณ์ ดังกล่าวมีค่าอยู่ที่ 12 kOhm ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 ที่มีความต้านทานสูงสามารถเชื่อมต่อ อุปกรณ์บนเครือข่ายเดียวกันได้ถึง 256 อุปกรณ์ ด้วยอุปกรณ์ทวนสัญญาณ RS-485 เราสามารถเพิ่มจำนวน อุปกรณ์บนเครือข่ายได้ถึงหลายพันตัว
       จากภาพแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร RS-485 ข้างบน จะพบว่าอุปกรณ์ข้างต้นจะเชื่อมต่ออยู่บนสายเครือข่ายเดียวกันในลักษณะพ่วงอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน (Multipoint) ในกรณีรับส่งสัญญาณที่ความเร็วสูง ในระยะทางไกล ๆ การต่อความต้านทาน 100 โอห์ม (Termination Resistor) เข้าที่ปลายสายสัญญาณทั้งสอง ด้านเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดปัญหาสัญญาณสะท้อนกลับ