แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ PLC Mitsubishi แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ PLC Mitsubishi แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

ต้องการตั้งเวลาเปิด-ปิดรดน้ำต้นไม้แบบอัตโนมัต เวลา 10.00น. - 10.59 น. และ 18.00น. - 18.59 น. เราจะใช้ RTC (Real Time Clock) ของ PLC ซึ่ง PLC ต้องเป็นรุ่นที่มี Battery Backup ด้วยนะ
ทำการศึกษาคู่มือว่าสามารถใช้ S.memory ไหนเป็นตัวเก็บข้อมูลเวลา วัน เดือน ปี
Real Time Clock PLC Mitsubishi FX Series(Programmable logic controllers Programing Manual 9.2)
จากโจทย์เราเลือกใช้ Device Number D8015(ชั่วโมง)


แบบโปรแกรมง่ายๆครับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้นะครับผม


วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

สายลิ้งค์ PLC Mitsubishi FX ราคา 500 บาท

  • ความยาว 3 เมตร 
  • รองรับ PLC FX1S ,FX1N ,FX3G ,FX3U ,FX3UC
  • รองรับ WINDOWS XP ,7,8 
  • สายสีดำ วัสดุอย่างดี
  • USB to RS422
ติดต่อ 
0804224466 
หรือสั่งซื้อจาก 
http://www.elec2you.com/category/15/plc/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%94-plc 


วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง Read Time Clock Control
         เป็นคำสั่งประยุกต์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลการทำงานของเวลา (วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที และวินาที)โดยแสดงค่าข้อมูลเวลา การเปรียบเทียบข้อมูล และการจัดการต่าง ๆ ในรูปของเวลา ซึ่งคำสั่ง Real Time Clock Control  นี้จะสามารถเลือกใช้คำสั่งดังนี้
TCMP = Time Compare ใช้เปรียบเทียบระหว่างค่าเวลาชั่วโมง นาที และวินาทีใน Device
TZCP  = Time Zone Compare ใช้เปรียบเทียบระหว่างค่าเวลาชั่วโมง นาที และวินาทีใน Device โดยจะตั้งค่าช่วงลิมิตเวลาสูงสุด-ต่ำสุด
TADD = Time Add ใช้ในการบวกค่าเวลาของ ชั่วโมง นาที และวินาที
TSUB = Time Subtract ใช้ในการลบค่าเวลาของ ชั่วโมง นาที และวินาที
TRD = Time Read 

ตัวอย่าง TCMP (Time Compare)


อธิบายว่า Real Time Clock ของ PLC จะมี Address D8015 เก็บค่าชั่วโมง D8014 เก็บค่านาที และ D8013 เก็บค่าวินาที ซึ่งค่าของ D8015 ,D8014 และ D8013 จะถูก Move เก็บไว้ที่ D0,D1 และ D2 ตามลำดับ เพื่อนำไปใช้งานอีกที คำสั่ง TCMP เรากำหนดค่าที่ใช้เปรียบเทียบกับ RTC เป็น 12:40:00 ซึ่งจะเห็นว่า
  • ถ้า RTC < 12:40:00   M0 จะ ON 
  • ถ้าค่า RTC = 12:40:00   M1 จะ ON
  • ถ้าค่า RTC > 12:40:00    M2 จะ ON  


วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

         เมื่อปี พ.ศ. 2511 ในฝ่าย Hydromatic ของบริษัท General Motors ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นอุปกรณ์ควบคุมแบบใหม่เพื่อใช้ทดแทนวงจรไฟฟ้าแบบเดิมที่ใช้กันอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัท และในปี พ.ศ. 2512 PLC ได้ถูกผลิตขึ้นจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก ส่วนในประเทศญี่ปุ่น PLC ได้ถูกพัฒนาขึ้นภายหลังจากที่บริษัท ออมรอม (OMRON Co.,Ltd) ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการผลิตโซลิต-สเตทรีเลย์ (Solid State Relay) ในปี พ.ศ. 2508 หลังจากนั้น 5 ปี PLC ก็ถูกนำออกจำ หน่ายสู่ท้องตลาดจนเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมา

ประวัติ PLC
ค.ศ.1969
            PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC

ค.ศ.1970-1979
            ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรกคือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog

ค.ศ.1980-1989
            มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่านทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal

ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
           ได้มีความพยายามในการที่จะทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
                    - IL (Instruction List)
                    - LD (Ladder Diagrams)
                    - FBD (Function Block Diagrams)
                    - SFC (Sequential Function Chart)
                    - ST (Structured Text)

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

CC-Link เป็นระบบสื่อสารข้อมูลอย่างหนึ่งของ Mitsubishi ซึ่งไว้ใช้รับส่งข้อมูลของอุปกรณ์ ต่างๆ เข้าหากัน แบบเดียวกับ Profibus,Device-net และ Mod-bus
http://clpa.eu//Portals/57/MMP_Images/CLPA59_CC-Link%20IE%20Control%20diagram.jpg
คุณสมบัติของ CC-LINK
ตัวอย่างเช่น PLC ขนาด 100 I/O ถ้า I/O อยู่ห่างจากตัว PLC 100 เมตร ต้องใช้สายไฟทั้งหมด 100*100 = 10,000 เมตร
ถ้าเราใช้ CC-LINK ใช้สาย 4 เส้น ไปปลายทางที่ตัว I/O ที่เป็นแบบ CC-LINK ได้เลย
ดังนั้นใช้สายน้อยกว่า แต่ตัว I/O แบบ CC-LINK ราคาสูงกว่า I/O แบบธรรมดา ดังนั้นต้องชั่งน้ำหนักดูว่า ลดต้นทุนสายลงกับราคาตัว I/O ที่เพิ่มขึ้นจุดคุ้มทุนอยู่ที่ไหน
http://www.tkkcorporation.com/images/mitsubishi/fr-a700_cc_link.png
ตารางสเปก CC-LINK V.1.0 กับ V.2.0
http://www.cclinkamerica.org/eprise/main/SiteGen/clpa/Content/cc-link/Specifications/Spec_Table.html
ตารางความยาวของสาย
http://www.cclinkamerica.org/SiteGen/Uploads/Public/clpa/images/CC-Link/CC-Link_Cable-Lengths.JPG



วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันนี้จะเอาตารางการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งาน PLC และระบบรีเลย์ในการควบคุม มาให้ดูครับ เริ่มเลยนะครับ

คุณลักษณะ PLC รีเลย์
ราคาค่าใช้จ่าย (ต่อการทำงานที่มีการใช้งานรีเลย์มากกว่า 20 ตัวขึ้นไป) ต่ำกว่า สูงกว่า
ขนาดเมื่อทำการติดตั้ง กะทัดรัด มีขนาดใหญ่กว่า
ความเร็วในการปฎิบัติการ มีความเร็วสูงกว่า ช้ากว่า
ความทนทานต่อการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า ดี ดีมาก
การติดตั้ง ง่ายในการติดตั้งและโปรแกรม ใช้เวลามากกว่าในการ ออกแบบและติดตั้ง
ความสามารถในการปฏิบัติการฟังก์ที่มีซับซ้อน สามารถกระทำได้ ไม่สามารถกระทำได้
ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงลำดับการควบคุม สามารถกระทำได้ง่าย สามารถกระทำได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก
การซ่อมบำรุง และตรวจสอบแก้ไข ไม่ต้องการการบำรุงรักษามากและง่ายในการตรวจสอบแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหาภายในระบบควบคุม ต้องการการดูแลในส่วนของคอล์ย และหน้าสัมผัสและยากในการตรวจสอบและก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา

จากตารางจะเห็นได้ว่า PLC ค่อนข้างดีกว่าระบบรีเลย์มากๆ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
แล้วการโปรแกรมก็สามารถทำได้ง่าย เมื่อต้องการปรับปรุงหรือแก้ไขระบบการทำงานของเครื่องจักร

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สาย PLC Mitsubishi  ใช้กับรุ่น FX และ A Series คุณภาพดี ราคา 870 บาท
support windows xp,vista,7  ความยาว 3 เมตร พร้อมแผ่น driver
สนใจสั่งซื้อ คลิก หรือสอบถามได้ 0804224466

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันนี้เราจะมาสอนใช้ vb6 ติดต่อ PLC Mitsubishi กันนะครับ
1. ต้องมีโปรแกรม vb6
2. MX Component V.3
3. PLC Mitsubishi
4. สายลิ้งคอมพิวเตอร์กับPLC Mitsubishi

เมื่อติดตั้งโปรแกรมและเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วก็เริ่มเลยนะครับ ทำการตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ของเราติดต่อ PLC Mitsubishi ได้เหรอไว้ โดยใช้ Communication Setup Utility ทดสอบกัน

Communication Setup Utility  






vb6

 ActFXCPU1.ActPortNumber  ตั้งค่า port number
ActFXCPU1.Open  เปิด port serial


ActFXCPU1.GetDevice(szDeviceName, lData)   อ่านค่าจาก PLC

szDeviceName ชื่อ device เช่น m100 ,d0 ,y0
lData ข้อมูลได้อ่านมาได้




ActFXCPU1.SetDevice(szDeviceName, CLng(szDeviceValue))
szDeviceName ชื่อ device เช่น m100 ,d0 ,y0
CLng(szDeviceValue) ข้อมูลที่จะส่งไปให้ PLC


k.ต้อม 0804224466 
www.elec2you.com    Elec2you จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ พีแอลซี เป็นต้น ราคาถูกที่สุด


วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Ladder Diagram (LD)
เป็นภาษาที่เขียนแสดงอยู่ในรูปของกราฟิค ซึ่งมีรากฐานมาจากวงจรรีเลยและวงจรไฟฟ้า ซึ่ง แลดเดอร์ ไดอะแกรม จะประกอบด้วย ราง (Rail) ทั้งซ้ายและขวา ของไดอะแกรม เพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เป็นสวิตช์หน้าสัมผัส เพื่อเป็นทางผ่านของกระแส และมีขดลวด หรือ คอยล์ เป็นเอ้าท์พุท
Ladder Diagram(LD)

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ฟังก์ชัน Division : DIV PLC Mitsubishi

คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการหารค่าของข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทาง S1 และหารด้วยอุปกรณ์ต้นทาง S2 และจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง D        

ตัวอย่างเช่น
S1 =  5
S2 =  5
D = ?

จากสมการ S1 / S2  =  D แทนค่าในสมการ 5 / 5 = 1 คำตอบ D = 1




 อธิบายจากรูป Division มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL สำหรับ 16 บิต คือ DIV (Division ) และ DIVP (Division Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 7  ส่วน 32 บิต คือ DDIV (Double Division ) และ DDIVP (Double Division Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 13

ตัวอย่างโปรแกรม PLC DIV 16 บิต



เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 5
D12 = 5
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 / D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 1

ตัวอย่างโปรแกรม PLC DDIV 32 บิต
     

เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 100000
D12 = 1
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 / D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 100000  



คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ

ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Multipication : MUL PLC Mitsubishi

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Multipication : MUL PLC Mitsubishi
คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการคูณค่าของข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทาง S1 และคูณด้วยอุปกรณ์ต้นทาง S2 และจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง D
           ตัวอย่างเช่น
S1 =  5
S2 =  5
D = ?

จากสมการ S1 x S2  =  D แทนค่าในสมการ 5 x 5 = 25 คำตอบ D = 25




 อธิบายจากรูป Multipication มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL สำหรับ 16 บิต คือ MUL (Multipication) และ MULP (Multipication Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 7  ส่วน 32 บิต คือ DMUL (Double Multipication) และ DMULP (Double Multipication Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 13

ตัวอย่างโปรแกรม PLC MUL 16 บิต


เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 5
D12 = 5
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 x D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 25 

ตัวอย่างโปรแกรม PLC DMUL 32 บิต




เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 5
D12 = 100000
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 x D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 500000  

คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ
ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi
ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi
ฟังก์ชัน Multipication : MUL PLC Mitsubishi

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

           คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการลบค่าของข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทาง S1 และลบออกด้วยอุปกรณ์ต้นทาง S2 และจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง D
           ตัวอย่างเช่น
S1 =  10
S2 =  9
D = ?

จากสมการ S1 - S2  =  D แทนค่าในสมการ 10 - 9 = 1 คำตอบ D = 1 


          อธิบายจากรูป Subtraction มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL สำหรับ 16 บิต คือ SUB (Subtraction) และ SUBP (Subtrction Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 7  ส่วน 32 บิต คือ DSUB (Double Subtraction) และ DSUBP (Double Subtraction Pulse) มี Program Steps เท่ากับ 13

แล้ว SUB กับ SUBP ต่างกันอย่างไร SUB จะทำงานตลอดเมื่อ Active แต่ SUBP จะทำงานครั้งเดียวที่ขอบขาขึ้น นั่นเอง

แล้ว SUB กับ DSUB ล่ะต่างกันอย่างไร คำตอบคือขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้งาน ถ้าข้อมูลไม่เกิน 16 บิต ก็ใช้ SUB ส่วน 32 บิต ก็ใช้ DSUB

ตัวอย่างโปรแกรม PLC SUB 16 บิต


เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 10
D12 = 9
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 - D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 1 ดังรูปด้านล่าง


ตัวอย่างโปรแกรม PLC DSUB 32 บิต


เขียนโปรแกรมดังรูปด้านบนแล้วกำหนดให้
D10 = 100000
D12 = 90000
เมื่อ X0 ทำงาน หรือ Active D10 - D12 =  D14  เฉพาะนั้น D14 = 10000  ดังรูปด้านล่าง


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าตัวเลข 16 บิต และ 32 บิต

อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Integer_(computer_science) 

คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ
ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi



         

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

    ฟังก์ชัน Addtion : ADD ทำหน้าที่รวมค่าข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทางและจัดเก็บที่อุปกรณ์ปลายทาง คำสั่งประยุกต์ ADD ที่ใช้ในการรวมค่าข้อมูล ทำได้โดยการใช้คำสั่ง  [ADD (S1) (S2) (D)] โดย S1 + S2 = D เช่น 2 + 4 = D = 6 เป็นต้น


   คำสั่งประยุกต์ Addtion ADD ,ADDP (Addition pulse) ใช้สำหรับแบบ 16 บิต มีโปรแกรม Steps เท่ากับ 7 Step และ DADD (Double Addition),DADDP (Double Addtion pulse) ใช้สำหรับแบบ 32 บิต มีโปรแกรม Step เท่ากับ 13 

จากรูปตัวอย่างด้านบนถ้านำมาเขียนโปรแกรม 


กำหนดให้ D10 = 2 ,D12 = 4  
เมือหน้าสัมผัส X0 ทำงาน หรือ ON 
D14 = D10 + D12 = 6 ดังรูปด้านล่าง


สำหรับแบบ 32 บิต สามารถเขียนโปรแกรมได้ดังรูปด้านล่าง
กำหนดให้ D10 = 100000 ,D12 = 100000
เมื่อหน้าสัมผัส X0 ทำงาน หรือ ON
D14 = D10 + D12 = 200000 ดังรูปด้านล่าง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าตัวเลข 16 บิต และ 32 บิต

อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Integer_(computer_science)  

คำสั่ง Arithmetic, Logical Operations อื่น ๆ
ฟังก์ชัน Addtion : ADD PLC Mitsubishi

ฟังก์ชัน Subtraction : SUB PLC Mitsubishi

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

      อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลข (Data Registers) ใช้สัญลักษณ์ D ตามด้วยลำดับที่ของอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลขเป็นเลขฐานสิบเช่น D001-D0009,D019 เป็นต้น โดยอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลขเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล (DATA) แบบตัวเลขหรือข้อมูลในรูปแบบของ 16 บิต/32บิต สามารถใช้เป็นค่าตัวเลขตั้งค่าให้กับอุปกรณ์หน่วงค่าเวลาหรืออุปกรณ์นับจำนวน

แบ่งได้ดังนี้

  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขทั่วไป  FX1N,FX2N >> D0-D199   FX3U >> D0-D511 
  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขจำค่าได้ FX1N >> D200-D512   FX2N>> D200-D7999          FX3U>>D512-D7999
  • เก็บข้อมูลชนิดพิเศษ FX1N,FX2N >> D8000-D8255  FX3U >> D8000-D8511
  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขชนิดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำFX1N >> D1000-D2999    FX2N, FX3U >>  D1000-D7999 
  • เก็บข้อมูลแบบตัวเลขภายนอก






วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557


Mitsubishi Q Series PLC Cable


ถ้ามี USB Serial อยู่แล้วให้ Wiring ตามรูป หรือจะสั่งซื้อจากทีมงานเราก็ได้นะครับ 



 ขายสาย PLC Mitsubishi Q Series ราคา 2,500 บาท