วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

1. design วงจรตามรูป

2. list อุปกรณ์ที่ต้องใช้

Product Part No No Price/unit Price(Bath)
Max232cpe+ 1 34.5 34.5
MINI DIN PLUG 8-PINS 1 20.33 20.33
DB-9 1 6.45 6.45
 D-SUB COVER PLASTIC 1 6.26 6.26
MULTICORE SHIELD CABLE 24AWG 6 WAYS 4 27 108
Capacitor 1uF 50 V 4 0.44 1.76
R 500 Ohm 1 0.15 0.15
สั่งทำแผ่น PCB 1 142 142
กล่องวงจร 1 25 25
รวม 344.45


3.ทำแผ่นปริ้นตามที่เรา design ไว้

4.บัดกี้อุปกรณ์และสายสัญญาณ(ผมทดลองด้วยบอร์ดไข่ปลาครับบ)


5.คู่มือการ wiring 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ยินดีให้คำปรึกษาครับ
080-422-4466



วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

 
คำสั่ง FROM เป็น Fucntion สำหรับอ่านข้อมูลจาก buffer memories ของ special fuction blocks เช่น Module FX2N-4AD














m1 คือ Slot No. 
m2 คือ ตำแหน่ง Memory ใน Analog Module 
D   คือ ตำแหน่ง Memory ใน CPU สำหรับเก็บข้อมูล
n    คือ จำนวนข้อมูลที่อ่าน

จากตัวอย่าง 
m1 = 2 แสดงว่าอยู่ Slot 2  การนับจำนวน Slot ดูตามรูปด้านล่าง 
m2 = K10 คือตำแหน่ง buffer memory ที่ตำแหน่ง 10  ใน Analog Module
D = D10  คือตำแหน่ง memory D10 ใน CPU สำหรับเก็บข้อมูล
n = K6 คือจำนวนของข้อมูลที่อ่านเท่ากับ 6

คำสั่ง TO เป็น Fucntion สำหรับอ่านข้อมูลจาก buffer memories ของ special fuction blocks เช่น Module FX2N-4AD










m1 คือ Slot No. 
m2 คือ ตำแหน่ง Memory ใน Analog Module 
S   คือ ตำแหน่ง Memory ใน CPU สำหรับส่งข้อมูล
n    คือ จำนวนข้อมูลที่อ่าน

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557




FX2N-4AD เป็น Module แปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital จำนวน 4 ช่องสัญญาณ มีความละเอียดระดับ 12 bit หรือ 4026 รองรับสัญญาณมาตรฐาน 4-20mA ,-10 V ถึง 10 V และ -20mA ถึง 20mA



การ wiring สัญญาณ



แสดงรายละเอียด Dimension ด้านนอกของ Module

Analog Inputs continued... Preset0 (-10V to +10V) แกน y digital ouput อยู่ในช่วง -2,000 ถึง +2000 เป็นค่าดิบที่ PLC อ่านได้ เทียบกับแกน x Voltage input -10 V ถึง +10 V (รับมาจากอุปกรณ์  Sensor เช่น Presure) แต่จะสั่งเกตช่วงเที่เกิน +-10 นั่นคือ-10.240Vถึง +10.235V ค่าที่อ่านได้จะเป็นสูงจริงจะเป็น -2048 ถึง +2047 ส่วน Preset 1 และ 2 ใช้หลักการเดียวกัน         

เป็น Buffer memories ในตัว Module สำหรับให้ PLC เรียกใช้งาน

รูปแสดงการตั้งค่า chanel ของ Module 

รูปแสดงสถานะของ Module


ตัวอย่างโปรแกรม

Datasheet
https://dl.dropboxusercontent.com/u/13758529/automation999/FX2N-4AD%20User's%20Guide.pdf

Program Exam
https://dl.dropboxusercontent.com/u/13758529/automation999/FX2N-4AD%20Program.7z

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

               ฟังก์ชัน MOVE : MOV (PLC Mitsubishi) คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลย้ายเข้าไปจัดเก็บ ณ จุดที่ต้องการ การใช้คำสั่งประยุกต์ MOV ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลทำได้โดยการใช้คำสั่ง [MOV (S) (D)] โดยค่า S จะเป็นค่าของข้อมูลเชิงตัวเลขฐานใดๆ ของอุปกรณ์ต้นทาง ค่า D เป็นจุดที่เคลื่อนย้ายข้อมูลเชิงตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ปลายทางเพื่อที่จะนำค่าไปใช้ในการสั่งงานอุปกรณ์ให้ทำงานตามจำนวนเชิงตัวเลยที่นำมาเก็บไว้ต่อไป
ตัวอย่างการใช้คำสั่งประยุกต์ MOVE
   

           








ตัวอย่างการเขียนภาษา Instruction List คำสั่งประยุกต์ MOVE : MOV



                   จากตัวอย่างเมื่อหน้าสัมผัสอินพุด M0 ทำงาน คำสังประยุกต์ MOV จะเคลื่อนย้ายข้อมูล (S) ที่มีค่าเท่ากับ (H0050) ไปจัดเก็บในอุปกรณ์ปลายทาง (D) อุปกรณ์เก็บค่าเชิงตัวเลข (Data Register,D01) ซึ่งมีค่าเท่ากับ S อุปกรณ์ต้นทาง เมื่อหน้าสัมผัสอินพุต M1 ทำงานจะสั่งงานให้อุปกรร์หน่วงเวลา (T01) ทำงานด้วยจำนวนเวลาเท่ากับค่าที่อยู่ในอุปกรร์เก็บค่าเชิงตัวเลข (D01) จนครบจำนวน หน้าสัมผัสอุปกรณ์หน่วงเวลาจะสั่งงานให้คอยล์เอาต์พุต Y001 ทำงาน
                   คำสั่งประยุกต์ MOVE สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL สำหรับแบบ 16 บิต MOVE คือ MOV และ MOVE pulse คือ MOVP มีโปรแกรม Steps เท่ากับ 5 ส่วน 32 บิต  Double MOVE คือ DMOV และ Double Move Pulse คือ DMOVP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 9




วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับปรึกษาและออกแบบโครงงานทางด้าน ,(ไฟฟ้ากำลัง,ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์,Power electronic,ไฟฟ้าสื่อสาร , ไฟฟ้าคอมพิวเตอร์, และงานออกแบบทุกชนิด(งานเครื่องกล)) สำหรับโรงงาน บริษัท นักศึกษาและบุคลทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
- เขียนโปรแกรม Microcontroller ตระกูล MCS51 PIC dsPIC AVR ARM ด้วยภาษา C และPLC เพื่อควบคุมระบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า 

- ออกแบบวงจรตามความต้องการของลูกค้าโดยอาศัยการทำงานของระบบนั้น ๆ เช่น

- A/D or D/A
- Signal condition and signal processing
- Current, voltage, temperature, pressure and other Parameter monitoring
- FET and IGBT Power control อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ ทุกชนิด
- MCS51 Microcontroller for management system
-RS232 RS485

- ออกแบบ Print circuit board (PCB) จากวงจรโดยใช้ Program Protel99SE , Program Protel DXP , Altium Designer 6

- ออกแบบหรือคัดลอกชิ้นงานจากชิ้นงานต้นแบบ เช่น ในกรณีที่ต้องการเก็บสำรองหรือทางโรงงานผู้
ผลิตเลิกผลิต Board รุ่นนั้นแล้ว

- เขียนโปรแกรม Visual basic,delphi7 เพื่อควบคุมระบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า
Electronics Design Service (EDS)
:รับงาน ออกแบบ วงจร ด้าน Microcontroller และ Project นักศึกษา งาน Service

-ทำทั้งโปรเจคเล็กๆ จนถึงใหญ่
-ทำแค่ชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น
-ให้คำปรึกษาฟรีครับ
-ท่านใดที่ต้องการทำโปรเจค แต่ยังไม่รู้จะทำอะไร ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำครับ

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556


เป็นขั้นตอนการดึงข้อมูลโปรแกรมที่อยู่ใน PLC Mitsubishi ออกมเพื่ออ่าน
เริ่มต้นไปที่ Online > Read from PLC . . .
 จากนั้นเลือก PLC Series กด OK

ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับ PLC ถ้า Successfuly แสดงว่าใช้ได้ ถ้าไม่ดูวิธีตาม


กดปุ่ม Param+Prog


กดปุ่ม Excute และ Yes ยืนยันการดึงข้อมูล

โหลดเสร็จแร้ว...

กดปุ่ม close

จะได้โปรแกรมตามรูป


วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และ PLC

ไปที่ online > Transfer setup...

ไปที่ tab PC side I/F คลิกที่ icon Serial USB เลือก RS-232C และเลือก com port และ Transmission speed ให้ตรงกัน กดปุ่ม OK


เพิ่มเติม การดู comport  คลิกขาวที่ computer >Manage >Device Manager >Ports




กดปุ่ม Connection test เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับPLC

ถ้าคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อ PLC ได้ จะมีข้อความแจ้งเตือนดังรูปด้านล่าง


การเขียนโปรแกรมลง PLC 
ไปที่ Online>Write to PLC ...


คลิกปุ่ม Param+Prog 


กดปุ่ม Excute ตอบ Yes



ตอบ Yes เพื่อหยุด PLC ก่อนเขียนโปรแกรมลง PLC

รอ...โหลดเสร็จแล้วก็กด Yes เพื่อสั่งให้ PLC RUN

กดปุ่ม OK เป็นอันเสร็จพิธีการเขียนโปรแกรมลง PLC  


หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้ที่อ่าน ถ้าสงสัยอะไรสามารถถามได้นะครับ

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันนี้จะสอนการใช้งานโปรแกรม GX Developer เบื้องต้น มาเริ่มกันเลยครับ
เมื่อติดตั้งโปรแกรม GX Developer เสร็จให้คลิก start>all program>MELSOFT Application>GX Developer ตามรูปด้านล่าง






























หน้าจอโปรแกรม GX Developer มี 4 ส่วน คือ

  1. Project data list
  2. Toolbar
  3. Status bar
  4. Program Mode Area 
ดังรูปด้านล่าง



มารู้จักส่วนแรก Project Data List เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแสดงรายละเอียดของโปรแกรม แบ่งออกเป็น ส่วนของโปรแกรมที่ออกแบบ(Program), แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์(Device Comment) และส่วนที่แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์์ใน PLC รุ่นที่เลือกใช้(PLC Parameter)





ส่วนที่ 2 Toolbar เป็นส่วนที่นำเสนอปุ่มแสดงคำสั่งที่ใช้ในการใช้งานออกแบบโปรแกรม PLC


ส่วนที่ 3 Status bar ใช้สถานะของโปรแกรมในขณะนั้น

ส่วนที่ 4 Program Mode Area เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมตามลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการในการออกแบบโปรแกรม ซึ่งสามารถเลือกรูปแบบการออกแบบ เช่น การออกแบบโปรแกรม Ladder,IL เป็นต้น


การสร้างโปรแกรม
ไปที่ Project > New Project
























เลือก PLC Series ดูจากตัว PLC ว่าเป็นรุ่นอะไรเลือกให้ตรงครับ

























เลือก PLC Type ดูจากตัว PLC

























เลือก Program type มี 2 ภาษา Ladder,SFC