วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557




FX2N-4AD เป็น Module แปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital จำนวน 4 ช่องสัญญาณ มีความละเอียดระดับ 12 bit หรือ 4026 รองรับสัญญาณมาตรฐาน 4-20mA ,-10 V ถึง 10 V และ -20mA ถึง 20mA



การ wiring สัญญาณ



แสดงรายละเอียด Dimension ด้านนอกของ Module

Analog Inputs continued... Preset0 (-10V to +10V) แกน y digital ouput อยู่ในช่วง -2,000 ถึง +2000 เป็นค่าดิบที่ PLC อ่านได้ เทียบกับแกน x Voltage input -10 V ถึง +10 V (รับมาจากอุปกรณ์  Sensor เช่น Presure) แต่จะสั่งเกตช่วงเที่เกิน +-10 นั่นคือ-10.240Vถึง +10.235V ค่าที่อ่านได้จะเป็นสูงจริงจะเป็น -2048 ถึง +2047 ส่วน Preset 1 และ 2 ใช้หลักการเดียวกัน         

เป็น Buffer memories ในตัว Module สำหรับให้ PLC เรียกใช้งาน

รูปแสดงการตั้งค่า chanel ของ Module 

รูปแสดงสถานะของ Module


ตัวอย่างโปรแกรม

Datasheet
https://dl.dropboxusercontent.com/u/13758529/automation999/FX2N-4AD%20User's%20Guide.pdf

Program Exam
https://dl.dropboxusercontent.com/u/13758529/automation999/FX2N-4AD%20Program.7z

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

               ฟังก์ชัน MOVE : MOV (PLC Mitsubishi) คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลย้ายเข้าไปจัดเก็บ ณ จุดที่ต้องการ การใช้คำสั่งประยุกต์ MOV ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลทำได้โดยการใช้คำสั่ง [MOV (S) (D)] โดยค่า S จะเป็นค่าของข้อมูลเชิงตัวเลขฐานใดๆ ของอุปกรณ์ต้นทาง ค่า D เป็นจุดที่เคลื่อนย้ายข้อมูลเชิงตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ปลายทางเพื่อที่จะนำค่าไปใช้ในการสั่งงานอุปกรณ์ให้ทำงานตามจำนวนเชิงตัวเลยที่นำมาเก็บไว้ต่อไป
ตัวอย่างการใช้คำสั่งประยุกต์ MOVE
   

           








ตัวอย่างการเขียนภาษา Instruction List คำสั่งประยุกต์ MOVE : MOV



                   จากตัวอย่างเมื่อหน้าสัมผัสอินพุด M0 ทำงาน คำสังประยุกต์ MOV จะเคลื่อนย้ายข้อมูล (S) ที่มีค่าเท่ากับ (H0050) ไปจัดเก็บในอุปกรณ์ปลายทาง (D) อุปกรณ์เก็บค่าเชิงตัวเลข (Data Register,D01) ซึ่งมีค่าเท่ากับ S อุปกรณ์ต้นทาง เมื่อหน้าสัมผัสอินพุต M1 ทำงานจะสั่งงานให้อุปกรร์หน่วงเวลา (T01) ทำงานด้วยจำนวนเวลาเท่ากับค่าที่อยู่ในอุปกรร์เก็บค่าเชิงตัวเลข (D01) จนครบจำนวน หน้าสัมผัสอุปกรณ์หน่วงเวลาจะสั่งงานให้คอยล์เอาต์พุต Y001 ทำงาน
                   คำสั่งประยุกต์ MOVE สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL สำหรับแบบ 16 บิต MOVE คือ MOV และ MOVE pulse คือ MOVP มีโปรแกรม Steps เท่ากับ 5 ส่วน 32 บิต  Double MOVE คือ DMOV และ Double Move Pulse คือ DMOVP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 9




วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับปรึกษาและออกแบบโครงงานทางด้าน ,(ไฟฟ้ากำลัง,ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์,Power electronic,ไฟฟ้าสื่อสาร , ไฟฟ้าคอมพิวเตอร์, และงานออกแบบทุกชนิด(งานเครื่องกล)) สำหรับโรงงาน บริษัท นักศึกษาและบุคลทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
- เขียนโปรแกรม Microcontroller ตระกูล MCS51 PIC dsPIC AVR ARM ด้วยภาษา C และPLC เพื่อควบคุมระบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า 

- ออกแบบวงจรตามความต้องการของลูกค้าโดยอาศัยการทำงานของระบบนั้น ๆ เช่น

- A/D or D/A
- Signal condition and signal processing
- Current, voltage, temperature, pressure and other Parameter monitoring
- FET and IGBT Power control อินเวอร์เตอร์ คอนเวอร์เตอร์ ทุกชนิด
- MCS51 Microcontroller for management system
-RS232 RS485

- ออกแบบ Print circuit board (PCB) จากวงจรโดยใช้ Program Protel99SE , Program Protel DXP , Altium Designer 6

- ออกแบบหรือคัดลอกชิ้นงานจากชิ้นงานต้นแบบ เช่น ในกรณีที่ต้องการเก็บสำรองหรือทางโรงงานผู้
ผลิตเลิกผลิต Board รุ่นนั้นแล้ว

- เขียนโปรแกรม Visual basic,delphi7 เพื่อควบคุมระบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า
Electronics Design Service (EDS)
:รับงาน ออกแบบ วงจร ด้าน Microcontroller และ Project นักศึกษา งาน Service

-ทำทั้งโปรเจคเล็กๆ จนถึงใหญ่
-ทำแค่ชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น
-ให้คำปรึกษาฟรีครับ
-ท่านใดที่ต้องการทำโปรเจค แต่ยังไม่รู้จะทำอะไร ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำครับ

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556


เป็นขั้นตอนการดึงข้อมูลโปรแกรมที่อยู่ใน PLC Mitsubishi ออกมเพื่ออ่าน
เริ่มต้นไปที่ Online > Read from PLC . . .
 จากนั้นเลือก PLC Series กด OK

ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับ PLC ถ้า Successfuly แสดงว่าใช้ได้ ถ้าไม่ดูวิธีตาม


กดปุ่ม Param+Prog


กดปุ่ม Excute และ Yes ยืนยันการดึงข้อมูล

โหลดเสร็จแร้ว...

กดปุ่ม close

จะได้โปรแกรมตามรูป


วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และ PLC

ไปที่ online > Transfer setup...

ไปที่ tab PC side I/F คลิกที่ icon Serial USB เลือก RS-232C และเลือก com port และ Transmission speed ให้ตรงกัน กดปุ่ม OK


เพิ่มเติม การดู comport  คลิกขาวที่ computer >Manage >Device Manager >Ports




กดปุ่ม Connection test เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับPLC

ถ้าคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อ PLC ได้ จะมีข้อความแจ้งเตือนดังรูปด้านล่าง


การเขียนโปรแกรมลง PLC 
ไปที่ Online>Write to PLC ...


คลิกปุ่ม Param+Prog 


กดปุ่ม Excute ตอบ Yes



ตอบ Yes เพื่อหยุด PLC ก่อนเขียนโปรแกรมลง PLC

รอ...โหลดเสร็จแล้วก็กด Yes เพื่อสั่งให้ PLC RUN

กดปุ่ม OK เป็นอันเสร็จพิธีการเขียนโปรแกรมลง PLC  


หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้ที่อ่าน ถ้าสงสัยอะไรสามารถถามได้นะครับ

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันนี้จะสอนการใช้งานโปรแกรม GX Developer เบื้องต้น มาเริ่มกันเลยครับ
เมื่อติดตั้งโปรแกรม GX Developer เสร็จให้คลิก start>all program>MELSOFT Application>GX Developer ตามรูปด้านล่าง






























หน้าจอโปรแกรม GX Developer มี 4 ส่วน คือ

  1. Project data list
  2. Toolbar
  3. Status bar
  4. Program Mode Area 
ดังรูปด้านล่าง



มารู้จักส่วนแรก Project Data List เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแสดงรายละเอียดของโปรแกรม แบ่งออกเป็น ส่วนของโปรแกรมที่ออกแบบ(Program), แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์(Device Comment) และส่วนที่แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์์ใน PLC รุ่นที่เลือกใช้(PLC Parameter)





ส่วนที่ 2 Toolbar เป็นส่วนที่นำเสนอปุ่มแสดงคำสั่งที่ใช้ในการใช้งานออกแบบโปรแกรม PLC


ส่วนที่ 3 Status bar ใช้สถานะของโปรแกรมในขณะนั้น

ส่วนที่ 4 Program Mode Area เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมตามลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการในการออกแบบโปรแกรม ซึ่งสามารถเลือกรูปแบบการออกแบบ เช่น การออกแบบโปรแกรม Ladder,IL เป็นต้น


การสร้างโปรแกรม
ไปที่ Project > New Project
























เลือก PLC Series ดูจากตัว PLC ว่าเป็นรุ่นอะไรเลือกให้ตรงครับ

























เลือก PLC Type ดูจากตัว PLC

























เลือก Program type มี 2 ภาษา Ladder,SFC







วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับทำโปรเจค Microcontroller และงานอิเล็กทรอนิกส์  ทุกตระกูล
รับเขียนโปรแกรม Microcontrolle  PIC AVR MCS ARM  STM32
รับเขียนโปรแกรม android ติดต่อ อุปกรณ์ภายนอก
รับเขียนโปรแกรม Image Processing 
Project ที่รับทำเช่น
-Project เกี่ยวกับการควบคุมหุ่นยนต์ Control มอเตอร์
-ออกแบบวงจรที่ใช้ ไมโครคอนโทรเลอร์ทุกการใช้งาน
-Display 7 Segment แสดงผลขนาดเล็ก ถึง ใหญ่ เช่น นาฬิกา,วัดความชื้นและอุณหภูมิ-เครื่องวัดอุณหภูมิ และการแสดงผลอื่นๆ
-ชุดคอนโทรมอเตอร์ DC Motor ,Stepper Motor, Servo Motor
-ระบบควบคุมระยะไกลหรือระบบไร้สายต่างๆ
-เครื่องควบคุมอุปกรณ์ด้วยรีโมตคอนโทรล
-งาน Visual Basic และฐานข้อมูลต่างๆ
-เครื่องต้นแบบต่างๆ

               คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการแปลงค่าตัวเลขของจุดทศนิยม ของข้อมูลเชิงตัวเลขในอุปกรณ์ต้นทางให้เป็นตัวเลข interger และเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในอุปกรณ์ปลายทาง การใช้คำสั่งประยุกต์ INT ที่ใช้ในการแปลงค่าตัวเลขจุดทศนิยมให้เป็นตัวเลข Integer ทำได้โดยการใช้คำสั่ง [INT (S) (D)] โดยที่ S จะเป็นอุปกรณ์ต้นทาง หรือค่าคงที่เชิงตัวเลขที่แสดงค่าทางจุดทศนิยม และ D คืออุปกรณ์ปลายทางที่ใช้ในการเก็บผลลัพธ์ค่าที่ได้จากการแปลงค่า
              คำสั่งประยุกต์ Floating Point Integer สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL แบบ 16 บิต Floating Point Integer คือ INT และคำสั่ง Floating Point Integer pluse คือ INTP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 5 แบบ 32 บิต Double Floating Point Interger คือ DINT และคำสั่ง Double Floating Point Integer pulse คือ DINP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 9
             ตัวอย่างการใช้งานคำสั่งประยุกต์

โหลดโปรแกรมได้ 





การสื่อสารอนุกรม RS-485


 
       RS-485 เป็นหนึ่งในมาตรฐานการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Communication) ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (Electronic Industries Alliance (EIA)) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่ต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวบนข่ายสายเดียวกัน โดยมีระยะทางการสื่อสารที่ไกลขึ้น และมีความเร็วรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับมาตรฐานการสื่อสาร RS-232 ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกัน
       เหตุที่การสื่อสาร RS-485 สามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้นนั้น เป็นเพราะ RS-485 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียล (Differential Mode) ขณะที่ RS-232 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน(Common Mode) สัญญาณรับส่งแบบคอมคอนนั้นจะใช้สัญญาณกราวด์ (Ground Signal) เป็นตัวเปรียบเทียบปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อระดับสัญญาณกราวด์ของตัวรับและตัวส่งไม่เท่ากัน ยิ่งระดับสัญญาณแตกต่างกันมากเท่าไร ก็ยิ่งมีผลต่อความผิดพลาดในการสื่อสารมากขึ้นเท่านั้น เพราะการตีความข้อมูลที่รับเข้ามาว่าเป็นศูนย์หรือหนึ่ง จะดูจากระดับความแตกต่างระหว่างสัญญาณกราวด์กับสัญญาณข้อมูลที่รับเข้ามา และยิ่งเมื่อมีสัญญาณรบกวน สอดแทรกเข้ามาในสายสัญญาณมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การตีความสัญญาณมีโอกาสผิดพลาดสูงมากยิ่งๆ ขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือระดับความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลจะสูงขึ้นจนไม่สามารถสื่อสารกันได้ หรือต้องลดระดับความเร็วในการสื่อสารลงมา
       ขณะที่สัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียลนั้น จะไม่ใช้สัญญาณกราวด์เป็นระดับอ้างอิงหรือเปรียบเทียบ แต่จะดูที่ความต่างของสัญญาณของคู่สายเป็นสำคัญ ทำให้ปัญหาเรื่องความแตกต่างของสัญญาณกราวด์ ระหว่างอุปกรณ์รับและอุปกรณ์ส่งหมด ไป (เพราะไม่ถูกนำมาใช้อ้างอิง) และถ้าหากคู่สายที่ใช้รับส่งสัญญาณ พันกันเป็นเกรียวก็จะยิ่งส่งผลให้สัญญาณรบกวนจากภาย นอกที่สอดแทรกเข้ามาในคู่สายก็จะถูกกำจัดออกไป ได้โดยง่าย เป็นผลให้การสื่อสาร RS-485 ทนต่อสัญญาณรบกวนภายนอก ได้สูง สามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น และเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน
       ตารางด้านล่างแสดงคุณสมบัติของการสื่อสาร RS-485 เปรียบเทียบกับมาตรฐานการสื่อสารอนุกรมอื่น ๆ
       จากตารางจะพบว่า RS-422 และ RS-485 มีความเร็วในการสื่อสารสูงกว่า RS-232 เป็นอย่างมาก ขณะที่ RS-232 เป็นมาตรฐาน การสื่อสารอนุกรมเดียวที่สามารถสื่อสารแบบสองทางพร้อมกันได้ (Full Duplex) ขณะที่มาตรฐาน การสื่อสาร อนุกรมอื่น ๆ ทำได้ เพียงแบบสองทางไม่พร้อมกัน (Half Duplex) ทั้งนี้เนื่อง จาก RS-232 เป็นการ สื่อสารแบบเชื่อมต่อจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) นั้นเอง ขณะที่มาตรฐานอื่น ๆ เป็นแบบเชื่อมต่ออุปกรณ์รับส่งหลาย ตัวบนสื่อสัญญาณเดียวกัน (Multidrop)
       การเชื่อมต่ออุปกรณ์ RS-485 เป็นเครือข่าย (network) ได้เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มาตรฐานการสื่อสาร RS-485 เป็นที่นิยมนำมาใช้งานในงานควบคุมและตรวจวัด อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 โดยทั่วไปนั้น จะ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่ายได้ 32 อุปกรณ์ ถ้าความต้านทานขาเข้า (Input Resistance) ของอุปกรณ์ ดังกล่าวมีค่าอยู่ที่ 12 kOhm ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 ที่มีความต้านทานสูงสามารถเชื่อมต่อ อุปกรณ์บนเครือข่ายเดียวกันได้ถึง 256 อุปกรณ์ ด้วยอุปกรณ์ทวนสัญญาณ RS-485 เราสามารถเพิ่มจำนวน อุปกรณ์บนเครือข่ายได้ถึงหลายพันตัว
       จากภาพแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร RS-485 ข้างบน จะพบว่าอุปกรณ์ข้างต้นจะเชื่อมต่ออยู่บนสายเครือข่ายเดียวกันในลักษณะพ่วงอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน (Multipoint) ในกรณีรับส่งสัญญาณที่ความเร็วสูง ในระยะทางไกล ๆ การต่อความต้านทาน 100 โอห์ม (Termination Resistor) เข้าที่ปลายสายสัญญาณทั้งสอง ด้านเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดปัญหาสัญญาณสะท้อนกลับ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556


  • ชื่อทางการ EIA-232E
  • โดยพื้นฐานจะประกอบด้วยสายตัวนำ 3 เส้น
  • ตัวนำหนึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณ อีกตัวหนึ่งจะคอยรับสัญญาณ โดยจะใช้ Ground ร่วมกัน
  • อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) จะส่งข้อมูลทางขา 2 และรับข้อมูลทางขา 3
  • อุปกรณ์ DCE (Data Communications Equipment) จะส่งข้อมูลทางขา 3 และรับข้อมูลทางขา 2
  • สถานะ logic 1:-3V ถึง -25V
  • สถานะ logic 0:+3V ถึง +25V 





   ข้อด้อยของ RS-232
  • รองรับเพียงการสื่อสารแบบ point-to-point
  • ระยะทางสั้นไม่เกิน 15 เมตร
  • อัตราการส่งข้อมูล (baud rate) ต่ำ ไม่เกิน 20 kbps
  • ระดับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน -3V ถึง +5V และ +3V ถึง +25V ไม่เข้ากับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าคือ +5V หรือ +12V  

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับทำโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์

            รับปรึกษา ออกแบบโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โปรเจคไฟฟ้า และงานอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดสำหรับ โรงงาน บริษัท นักศึกษาและบุคลทั่วไป


 รับทำโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์
 รับทำโปรเจค Microcontroller เช่น MCS-51, PIC, ARM7, AVR
 รับทำโปรเจคไฟฟ้า
 รับทำโปรเจค C
 รับเขียนโปรแกรม เช่น C, C++, C#, Assembly, VB, PHP
 รับออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 งานอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น Lab View, Lab WindowsCVI

รับทำตั้งแต่โปรเจคเล็ก ๆ ถึงโปรเจคใหญ่
ทำชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น
ราคาไม่แพงอย่างที่คุณคิด
หากท่านใดที่มีความต้องการและสนใจที่จะใช้บริการของเราสามารถติดต่อได้ที่ 


ติดต่อ คุณพรประเสริฐ
โทร : 080-422-4466

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556


PROFIBUS (Process Field Bus)

  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานแบบหนึ่งสำหรับการติดต่อแบบอนุกรมกับอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงงาน ทำให้สามารถลดจำนวนสายลงแต่สามารถเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากขึ้น โดยได้ค่าที่ถูกต้องเที่ยงตรง
  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานระบบเปิดสำหรับการผลิตและควบคุมอัตโนมัติ ที่ไม่ถูกผูกมัดกับผู้ผลิตใดๆ
  • PROFIBUS จะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ(IEC61158,EN50170,50240)เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้มาตรฐานนี้สามารถติดต่อกัน และใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์
PROFIBUS-DP
  • PROFIBUS-DP (Profibus Decentral Peripherals) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครื่องจักร(Factory automation) จากข้อมูลการตลาด PROFIBUS ถือได้ว่าเป็นผู้นำทางด้าน Field Bus เลยก็ว่าได้เพราะมีคนนิยมใช้มากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาด Field Bus
  • ใช้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วมากเช่น อุปกรณ์ควมคุมมอเตอร์(control drives),PLC ระบบไฟฟ้ากำลัง และอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องการการต่อเชื่อมด้วยความเร็วสูง
PROFIBUS-PA
  • PROFIBUS-DP (Profibus Process Automation) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมกระบวนการผลิต(Process Control)โดยเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องมีความปลอดภัยสูงมาก
  • ใช้เพื่อทดแทนระบบที่ใช้การสื่อสัญญาณแบบ 4-20mA,และแบบ HART ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งในส่วนที่ต้องการความปลอดภัยจากการระเบิด โดยเพิ่มความสามารถในการ ถอดลดและเพิ่มได้โดยไม่มีผลต่ออุปกรณ์อื่น ๆ ในบัส 

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จุดเด่นของการใช้งาน PLC

  1. PLC มีการเดินสายที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  2. สามารถปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามเงื่อนไขการควบคุมระบบหรือเครื่องจักรได้ง่ายและรวดเร็ว
  3. การเขียนโปรแกรมควบคุมแบบแลดเดอร์มีส่วนคล้ายคลึงกับวงจร relay จึงทำให้เขียนได้ง่าย
  4. PLC มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
  5. การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงทำได้ง่าย
  6. สามารถลดเวลาในการหยุดเครื่องจักรลงได้
  7. ประหยัดการใช้พื้นที่การทำงานของเครื่องจักรได้ และสามารถใช้งานในระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
  8. สามารถต่อขยายระบบจำนวนอินพุตและเอาต์พุตได้ง่าย
  9. รองรับการเชื่อมต่อแบบโครงข่าย
  10. สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader),จอแสดงผลแบบสัมผัส (touch screen)
ข้อดี

  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อการทำงานจำเป็นต้องต่ออุปกรณ์รีเลย์และ timer > 10 ตัวขึ้นไป
  2. ลดเวลาในการออกแบบวงจรและการประกอบตู้ควบคุม
  3. มีขนาดเล็กและเป็นมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับวงจรรีเลย์ซีเควนซ์ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มากกว่า
  4. ป้องกันปัญหาในเรื่องของหน้าสัมผัส สายหยุดของวงจรรีเลย์ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. PLC มีโปรแกรมตรวจสอบตัวเอง ซึ่งสามารถวิเคราห์ความผิดปกติของเครื่อง ทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ Auxiliary Relay ใน PLC Mitsubishi

Auxiliary Relay (M)
FX-1S
FX-1N
FX-2N
FX-2NC
General
M0~M383
M0~M383
M0~M499
M0~M499
Latched
M384~M511
M384~M1535
M500~M3071
M500~M3071
Special
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255