วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับทำโปรเจค Microcontroller และงานอิเล็กทรอนิกส์  ทุกตระกูล
รับเขียนโปรแกรม Microcontrolle  PIC AVR MCS ARM  STM32
รับเขียนโปรแกรม android ติดต่อ อุปกรณ์ภายนอก
รับเขียนโปรแกรม Image Processing 
Project ที่รับทำเช่น
-Project เกี่ยวกับการควบคุมหุ่นยนต์ Control มอเตอร์
-ออกแบบวงจรที่ใช้ ไมโครคอนโทรเลอร์ทุกการใช้งาน
-Display 7 Segment แสดงผลขนาดเล็ก ถึง ใหญ่ เช่น นาฬิกา,วัดความชื้นและอุณหภูมิ-เครื่องวัดอุณหภูมิ และการแสดงผลอื่นๆ
-ชุดคอนโทรมอเตอร์ DC Motor ,Stepper Motor, Servo Motor
-ระบบควบคุมระยะไกลหรือระบบไร้สายต่างๆ
-เครื่องควบคุมอุปกรณ์ด้วยรีโมตคอนโทรล
-งาน Visual Basic และฐานข้อมูลต่างๆ
-เครื่องต้นแบบต่างๆ

               คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการแปลงค่าตัวเลขของจุดทศนิยม ของข้อมูลเชิงตัวเลขในอุปกรณ์ต้นทางให้เป็นตัวเลข interger และเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในอุปกรณ์ปลายทาง การใช้คำสั่งประยุกต์ INT ที่ใช้ในการแปลงค่าตัวเลขจุดทศนิยมให้เป็นตัวเลข Integer ทำได้โดยการใช้คำสั่ง [INT (S) (D)] โดยที่ S จะเป็นอุปกรณ์ต้นทาง หรือค่าคงที่เชิงตัวเลขที่แสดงค่าทางจุดทศนิยม และ D คืออุปกรณ์ปลายทางที่ใช้ในการเก็บผลลัพธ์ค่าที่ได้จากการแปลงค่า
              คำสั่งประยุกต์ Floating Point Integer สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษา IL แบบ 16 บิต Floating Point Integer คือ INT และคำสั่ง Floating Point Integer pluse คือ INTP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 5 แบบ 32 บิต Double Floating Point Interger คือ DINT และคำสั่ง Double Floating Point Integer pulse คือ DINP มีโปรแกรม Step เท่ากับ 9
             ตัวอย่างการใช้งานคำสั่งประยุกต์

โหลดโปรแกรมได้ 





การสื่อสารอนุกรม RS-485


 
       RS-485 เป็นหนึ่งในมาตรฐานการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Communication) ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (Electronic Industries Alliance (EIA)) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่ต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวบนข่ายสายเดียวกัน โดยมีระยะทางการสื่อสารที่ไกลขึ้น และมีความเร็วรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับมาตรฐานการสื่อสาร RS-232 ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกัน
       เหตุที่การสื่อสาร RS-485 สามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้นนั้น เป็นเพราะ RS-485 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียล (Differential Mode) ขณะที่ RS-232 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน(Common Mode) สัญญาณรับส่งแบบคอมคอนนั้นจะใช้สัญญาณกราวด์ (Ground Signal) เป็นตัวเปรียบเทียบปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อระดับสัญญาณกราวด์ของตัวรับและตัวส่งไม่เท่ากัน ยิ่งระดับสัญญาณแตกต่างกันมากเท่าไร ก็ยิ่งมีผลต่อความผิดพลาดในการสื่อสารมากขึ้นเท่านั้น เพราะการตีความข้อมูลที่รับเข้ามาว่าเป็นศูนย์หรือหนึ่ง จะดูจากระดับความแตกต่างระหว่างสัญญาณกราวด์กับสัญญาณข้อมูลที่รับเข้ามา และยิ่งเมื่อมีสัญญาณรบกวน สอดแทรกเข้ามาในสายสัญญาณมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การตีความสัญญาณมีโอกาสผิดพลาดสูงมากยิ่งๆ ขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือระดับความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลจะสูงขึ้นจนไม่สามารถสื่อสารกันได้ หรือต้องลดระดับความเร็วในการสื่อสารลงมา
       ขณะที่สัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียลนั้น จะไม่ใช้สัญญาณกราวด์เป็นระดับอ้างอิงหรือเปรียบเทียบ แต่จะดูที่ความต่างของสัญญาณของคู่สายเป็นสำคัญ ทำให้ปัญหาเรื่องความแตกต่างของสัญญาณกราวด์ ระหว่างอุปกรณ์รับและอุปกรณ์ส่งหมด ไป (เพราะไม่ถูกนำมาใช้อ้างอิง) และถ้าหากคู่สายที่ใช้รับส่งสัญญาณ พันกันเป็นเกรียวก็จะยิ่งส่งผลให้สัญญาณรบกวนจากภาย นอกที่สอดแทรกเข้ามาในคู่สายก็จะถูกกำจัดออกไป ได้โดยง่าย เป็นผลให้การสื่อสาร RS-485 ทนต่อสัญญาณรบกวนภายนอก ได้สูง สามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น และเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน
       ตารางด้านล่างแสดงคุณสมบัติของการสื่อสาร RS-485 เปรียบเทียบกับมาตรฐานการสื่อสารอนุกรมอื่น ๆ
       จากตารางจะพบว่า RS-422 และ RS-485 มีความเร็วในการสื่อสารสูงกว่า RS-232 เป็นอย่างมาก ขณะที่ RS-232 เป็นมาตรฐาน การสื่อสารอนุกรมเดียวที่สามารถสื่อสารแบบสองทางพร้อมกันได้ (Full Duplex) ขณะที่มาตรฐาน การสื่อสาร อนุกรมอื่น ๆ ทำได้ เพียงแบบสองทางไม่พร้อมกัน (Half Duplex) ทั้งนี้เนื่อง จาก RS-232 เป็นการ สื่อสารแบบเชื่อมต่อจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) นั้นเอง ขณะที่มาตรฐานอื่น ๆ เป็นแบบเชื่อมต่ออุปกรณ์รับส่งหลาย ตัวบนสื่อสัญญาณเดียวกัน (Multidrop)
       การเชื่อมต่ออุปกรณ์ RS-485 เป็นเครือข่าย (network) ได้เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มาตรฐานการสื่อสาร RS-485 เป็นที่นิยมนำมาใช้งานในงานควบคุมและตรวจวัด อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 โดยทั่วไปนั้น จะ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่ายได้ 32 อุปกรณ์ ถ้าความต้านทานขาเข้า (Input Resistance) ของอุปกรณ์ ดังกล่าวมีค่าอยู่ที่ 12 kOhm ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 ที่มีความต้านทานสูงสามารถเชื่อมต่อ อุปกรณ์บนเครือข่ายเดียวกันได้ถึง 256 อุปกรณ์ ด้วยอุปกรณ์ทวนสัญญาณ RS-485 เราสามารถเพิ่มจำนวน อุปกรณ์บนเครือข่ายได้ถึงหลายพันตัว
       จากภาพแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร RS-485 ข้างบน จะพบว่าอุปกรณ์ข้างต้นจะเชื่อมต่ออยู่บนสายเครือข่ายเดียวกันในลักษณะพ่วงอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน (Multipoint) ในกรณีรับส่งสัญญาณที่ความเร็วสูง ในระยะทางไกล ๆ การต่อความต้านทาน 100 โอห์ม (Termination Resistor) เข้าที่ปลายสายสัญญาณทั้งสอง ด้านเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดปัญหาสัญญาณสะท้อนกลับ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556


  • ชื่อทางการ EIA-232E
  • โดยพื้นฐานจะประกอบด้วยสายตัวนำ 3 เส้น
  • ตัวนำหนึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณ อีกตัวหนึ่งจะคอยรับสัญญาณ โดยจะใช้ Ground ร่วมกัน
  • อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) จะส่งข้อมูลทางขา 2 และรับข้อมูลทางขา 3
  • อุปกรณ์ DCE (Data Communications Equipment) จะส่งข้อมูลทางขา 3 และรับข้อมูลทางขา 2
  • สถานะ logic 1:-3V ถึง -25V
  • สถานะ logic 0:+3V ถึง +25V 





   ข้อด้อยของ RS-232
  • รองรับเพียงการสื่อสารแบบ point-to-point
  • ระยะทางสั้นไม่เกิน 15 เมตร
  • อัตราการส่งข้อมูล (baud rate) ต่ำ ไม่เกิน 20 kbps
  • ระดับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน -3V ถึง +5V และ +3V ถึง +25V ไม่เข้ากับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าคือ +5V หรือ +12V  

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับทำโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์

            รับปรึกษา ออกแบบโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โปรเจคไฟฟ้า และงานอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดสำหรับ โรงงาน บริษัท นักศึกษาและบุคลทั่วไป


 รับทำโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์
 รับทำโปรเจค Microcontroller เช่น MCS-51, PIC, ARM7, AVR
 รับทำโปรเจคไฟฟ้า
 รับทำโปรเจค C
 รับเขียนโปรแกรม เช่น C, C++, C#, Assembly, VB, PHP
 รับออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 งานอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น Lab View, Lab WindowsCVI

รับทำตั้งแต่โปรเจคเล็ก ๆ ถึงโปรเจคใหญ่
ทำชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น
ราคาไม่แพงอย่างที่คุณคิด
หากท่านใดที่มีความต้องการและสนใจที่จะใช้บริการของเราสามารถติดต่อได้ที่ 


ติดต่อ คุณพรประเสริฐ
โทร : 080-422-4466

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556


PROFIBUS (Process Field Bus)

  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานแบบหนึ่งสำหรับการติดต่อแบบอนุกรมกับอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงงาน ทำให้สามารถลดจำนวนสายลงแต่สามารถเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากขึ้น โดยได้ค่าที่ถูกต้องเที่ยงตรง
  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานระบบเปิดสำหรับการผลิตและควบคุมอัตโนมัติ ที่ไม่ถูกผูกมัดกับผู้ผลิตใดๆ
  • PROFIBUS จะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ(IEC61158,EN50170,50240)เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้มาตรฐานนี้สามารถติดต่อกัน และใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์
PROFIBUS-DP
  • PROFIBUS-DP (Profibus Decentral Peripherals) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครื่องจักร(Factory automation) จากข้อมูลการตลาด PROFIBUS ถือได้ว่าเป็นผู้นำทางด้าน Field Bus เลยก็ว่าได้เพราะมีคนนิยมใช้มากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาด Field Bus
  • ใช้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วมากเช่น อุปกรณ์ควมคุมมอเตอร์(control drives),PLC ระบบไฟฟ้ากำลัง และอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องการการต่อเชื่อมด้วยความเร็วสูง
PROFIBUS-PA
  • PROFIBUS-DP (Profibus Process Automation) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมกระบวนการผลิต(Process Control)โดยเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องมีความปลอดภัยสูงมาก
  • ใช้เพื่อทดแทนระบบที่ใช้การสื่อสัญญาณแบบ 4-20mA,และแบบ HART ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งในส่วนที่ต้องการความปลอดภัยจากการระเบิด โดยเพิ่มความสามารถในการ ถอดลดและเพิ่มได้โดยไม่มีผลต่ออุปกรณ์อื่น ๆ ในบัส 

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จุดเด่นของการใช้งาน PLC

  1. PLC มีการเดินสายที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  2. สามารถปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามเงื่อนไขการควบคุมระบบหรือเครื่องจักรได้ง่ายและรวดเร็ว
  3. การเขียนโปรแกรมควบคุมแบบแลดเดอร์มีส่วนคล้ายคลึงกับวงจร relay จึงทำให้เขียนได้ง่าย
  4. PLC มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
  5. การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงทำได้ง่าย
  6. สามารถลดเวลาในการหยุดเครื่องจักรลงได้
  7. ประหยัดการใช้พื้นที่การทำงานของเครื่องจักรได้ และสามารถใช้งานในระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
  8. สามารถต่อขยายระบบจำนวนอินพุตและเอาต์พุตได้ง่าย
  9. รองรับการเชื่อมต่อแบบโครงข่าย
  10. สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader),จอแสดงผลแบบสัมผัส (touch screen)
ข้อดี

  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อการทำงานจำเป็นต้องต่ออุปกรณ์รีเลย์และ timer > 10 ตัวขึ้นไป
  2. ลดเวลาในการออกแบบวงจรและการประกอบตู้ควบคุม
  3. มีขนาดเล็กและเป็นมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับวงจรรีเลย์ซีเควนซ์ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มากกว่า
  4. ป้องกันปัญหาในเรื่องของหน้าสัมผัส สายหยุดของวงจรรีเลย์ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. PLC มีโปรแกรมตรวจสอบตัวเอง ซึ่งสามารถวิเคราห์ความผิดปกติของเครื่อง ทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ Auxiliary Relay ใน PLC Mitsubishi

Auxiliary Relay (M)
FX-1S
FX-1N
FX-2N
FX-2NC
General
M0~M383
M0~M383
M0~M499
M0~M499
Latched
M384~M511
M384~M1535
M500~M3071
M500~M3071
Special
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255


ทำความรู้จักกับ GX Works2





ALL IN ONE PACKAGE

  • เป็นซอฟต์แวร์ใหม่ที่รวมทุกความสามารถสําหรับงาน PLC ไว้ในที่ เดียว
  • มีการใช้งานแบบ GX Developer โดยผู้ที่เคยใช้ GX Developer แบบเดิมสามารถใช้แบบ Simple Project ได้ และยังมี GX Developer แบบเดิมมาให้ เลือกใช้เป็น GX Works2 แท้ๆแบบ Structured Project ได้ เพื่อการ โปรแกรมในรูป IEC61131-3 เช่น Structured ladder และ FBD language (Function Block Diagram)
  • มี GX Simulator ให้ทดสอบการทํางานของโปรแกรมโดยไม่ต้องใช้ PLC จริง
  • มี GX Configurator เพื่อการใช้งานกับโมดูลพิเศษ (จากเดิมถ้าต้องการใช้ GX Configurator จะต้องซื้อต่าง หาก จึงมักใช้กับโมดูล พิเศษที่จําเป็น เท่านั้น

อุปกรณ์พื้นฐานใน PLC
อุปกรณ์พื้นฐานใน PLC
สัญลักษณ์ Symbol
ตัวอย่างการใช้งาน Example
Input
X
X0,X1,X14,X15
Output
Y
Y2,Y3,Y16
Relay(Aux)
M
M4,M13,M19
Timer
T
T0,T1,T27
Counter
C
C7,C8,C10
Data Register
D
D0,D10,D15

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การต่อวงจรอินพุตจะมี 2 แบบ คือ sink type และ source type

1. sink type ต่อ +24v เข้า s/s เมื่อมีการ active switch  input จะมีการเชื่อมต่อกับ Ground หรือ 0v ตามรูป
กระแสไหลออก PLC
 2.source type ต่อ 0v เข้า s/s เมื่อมีการ active switch input จะมีการเชื่อต่อกับ +24v ตามรูป
กระแสไหลเข้า PLC

โครงสร้าง PLC ประกอบด้วย ?






  • วงจรอินพุต (input interface) ของ PLC ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกกับ CPU เพื่อรับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกมาใช้เป็นเงื่อนไขในการควบคุม เช่นLimit switch, Proximity- switch, สวิตซ์ปุ่มกดต่างๆ  เป็นต้น 


  • วงจรเอาท์พุต (output interface) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น

  • หน่วยความจำ (memory unit)
    • RAM = Random Access Memory
    • EPROM = Eraseble Programmable Read Only Memory
    • EEPROM = Electronic Eraseble Programmavle Read Only Memory
  • หน่วยประมวลผล (CPU ;Control Processing Unit)
  • หน่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้า ( Power supply unit )  ทำหน้าที่ ปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้มีระดับที่เหมาะสมที่จะจ่ายให้กับ หน่วยประมวลผลกลาง , หน่วยอินพุท ,หน่วยเอ้าท์พุท นอกจากนี้ยังจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับการสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์ภายนอก เช่น โมดูลอินพุทและเอ้าท์พุทระยะไกล(Remote Input / Output Module) , อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556




  • PLC MITSUBISHI SERIES สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รุ่นใหญ่ ๆ ได้แก่
    • FX-Series (i/o max) = 256 points


    • A-Series (i/o max) = 1,024 point
    • Q-Series (i/0 max) = 4,096 point







รับทำโปรเจ็ค,รับปรึกษาโครงงานนักศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี และProjectงานทั่วไป 
  • รับทำโปรเจ็คนักศึกษา ทั้งโปรแกรมและชิ้นงานด้าน ไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์ , คอมพิวเตอร์ , ไมโครคอนโทรลเลอร์ (PIC , MEGAWIN )
  • รับทำงานโปรเจ็คต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท ห้างร้าน ทั่วไป
  • รับทำสื่อการเรียนการสอน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม (ไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา(ชิ้นงาน + คู่มือการใช้งาน)

สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อ

คุณพรประเสริฐ   
โทร : 080-422-4466
E-mail : ng.pornprasert@gmail.com