วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารอนุกรม RS-485


 
       RS-485 เป็นหนึ่งในมาตรฐานการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Communication) ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (Electronic Industries Alliance (EIA)) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่ต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวบนข่ายสายเดียวกัน โดยมีระยะทางการสื่อสารที่ไกลขึ้น และมีความเร็วรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับมาตรฐานการสื่อสาร RS-232 ที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกัน
       เหตุที่การสื่อสาร RS-485 สามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้นนั้น เป็นเพราะ RS-485 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียล (Differential Mode) ขณะที่ RS-232 ใช้เทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน(Common Mode) สัญญาณรับส่งแบบคอมคอนนั้นจะใช้สัญญาณกราวด์ (Ground Signal) เป็นตัวเปรียบเทียบปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อระดับสัญญาณกราวด์ของตัวรับและตัวส่งไม่เท่ากัน ยิ่งระดับสัญญาณแตกต่างกันมากเท่าไร ก็ยิ่งมีผลต่อความผิดพลาดในการสื่อสารมากขึ้นเท่านั้น เพราะการตีความข้อมูลที่รับเข้ามาว่าเป็นศูนย์หรือหนึ่ง จะดูจากระดับความแตกต่างระหว่างสัญญาณกราวด์กับสัญญาณข้อมูลที่รับเข้ามา และยิ่งเมื่อมีสัญญาณรบกวน สอดแทรกเข้ามาในสายสัญญาณมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การตีความสัญญาณมีโอกาสผิดพลาดสูงมากยิ่งๆ ขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือระดับความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลจะสูงขึ้นจนไม่สามารถสื่อสารกันได้ หรือต้องลดระดับความเร็วในการสื่อสารลงมา
       ขณะที่สัญญาณรับส่งแบบดิฟเฟอเรนเชียลนั้น จะไม่ใช้สัญญาณกราวด์เป็นระดับอ้างอิงหรือเปรียบเทียบ แต่จะดูที่ความต่างของสัญญาณของคู่สายเป็นสำคัญ ทำให้ปัญหาเรื่องความแตกต่างของสัญญาณกราวด์ ระหว่างอุปกรณ์รับและอุปกรณ์ส่งหมด ไป (เพราะไม่ถูกนำมาใช้อ้างอิง) และถ้าหากคู่สายที่ใช้รับส่งสัญญาณ พันกันเป็นเกรียวก็จะยิ่งส่งผลให้สัญญาณรบกวนจากภาย นอกที่สอดแทรกเข้ามาในคู่สายก็จะถูกกำจัดออกไป ได้โดยง่าย เป็นผลให้การสื่อสาร RS-485 ทนต่อสัญญาณรบกวนภายนอก ได้สูง สามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น และเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคสัญญาณรับส่งแบบคอมมอน
       ตารางด้านล่างแสดงคุณสมบัติของการสื่อสาร RS-485 เปรียบเทียบกับมาตรฐานการสื่อสารอนุกรมอื่น ๆ
       จากตารางจะพบว่า RS-422 และ RS-485 มีความเร็วในการสื่อสารสูงกว่า RS-232 เป็นอย่างมาก ขณะที่ RS-232 เป็นมาตรฐาน การสื่อสารอนุกรมเดียวที่สามารถสื่อสารแบบสองทางพร้อมกันได้ (Full Duplex) ขณะที่มาตรฐาน การสื่อสาร อนุกรมอื่น ๆ ทำได้ เพียงแบบสองทางไม่พร้อมกัน (Half Duplex) ทั้งนี้เนื่อง จาก RS-232 เป็นการ สื่อสารแบบเชื่อมต่อจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) นั้นเอง ขณะที่มาตรฐานอื่น ๆ เป็นแบบเชื่อมต่ออุปกรณ์รับส่งหลาย ตัวบนสื่อสัญญาณเดียวกัน (Multidrop)
       การเชื่อมต่ออุปกรณ์ RS-485 เป็นเครือข่าย (network) ได้เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มาตรฐานการสื่อสาร RS-485 เป็นที่นิยมนำมาใช้งานในงานควบคุมและตรวจวัด อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 โดยทั่วไปนั้น จะ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่ายได้ 32 อุปกรณ์ ถ้าความต้านทานขาเข้า (Input Resistance) ของอุปกรณ์ ดังกล่าวมีค่าอยู่ที่ 12 kOhm ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ RS-485 ที่มีความต้านทานสูงสามารถเชื่อมต่อ อุปกรณ์บนเครือข่ายเดียวกันได้ถึง 256 อุปกรณ์ ด้วยอุปกรณ์ทวนสัญญาณ RS-485 เราสามารถเพิ่มจำนวน อุปกรณ์บนเครือข่ายได้ถึงหลายพันตัว
       จากภาพแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร RS-485 ข้างบน จะพบว่าอุปกรณ์ข้างต้นจะเชื่อมต่ออยู่บนสายเครือข่ายเดียวกันในลักษณะพ่วงอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน (Multipoint) ในกรณีรับส่งสัญญาณที่ความเร็วสูง ในระยะทางไกล ๆ การต่อความต้านทาน 100 โอห์ม (Termination Resistor) เข้าที่ปลายสายสัญญาณทั้งสอง ด้านเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดปัญหาสัญญาณสะท้อนกลับ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556


  • ชื่อทางการ EIA-232E
  • โดยพื้นฐานจะประกอบด้วยสายตัวนำ 3 เส้น
  • ตัวนำหนึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณ อีกตัวหนึ่งจะคอยรับสัญญาณ โดยจะใช้ Ground ร่วมกัน
  • อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) จะส่งข้อมูลทางขา 2 และรับข้อมูลทางขา 3
  • อุปกรณ์ DCE (Data Communications Equipment) จะส่งข้อมูลทางขา 3 และรับข้อมูลทางขา 2
  • สถานะ logic 1:-3V ถึง -25V
  • สถานะ logic 0:+3V ถึง +25V 





   ข้อด้อยของ RS-232
  • รองรับเพียงการสื่อสารแบบ point-to-point
  • ระยะทางสั้นไม่เกิน 15 เมตร
  • อัตราการส่งข้อมูล (baud rate) ต่ำ ไม่เกิน 20 kbps
  • ระดับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน -3V ถึง +5V และ +3V ถึง +25V ไม่เข้ากับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าคือ +5V หรือ +12V  

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับทำโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์

            รับปรึกษา ออกแบบโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โปรเจคไฟฟ้า และงานอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดสำหรับ โรงงาน บริษัท นักศึกษาและบุคลทั่วไป


 รับทำโปรเจคอิเล็กทรอนิกส์
 รับทำโปรเจค Microcontroller เช่น MCS-51, PIC, ARM7, AVR
 รับทำโปรเจคไฟฟ้า
 รับทำโปรเจค C
 รับเขียนโปรแกรม เช่น C, C++, C#, Assembly, VB, PHP
 รับออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 งานอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เช่น Lab View, Lab WindowsCVI

รับทำตั้งแต่โปรเจคเล็ก ๆ ถึงโปรเจคใหญ่
ทำชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น
ราคาไม่แพงอย่างที่คุณคิด
หากท่านใดที่มีความต้องการและสนใจที่จะใช้บริการของเราสามารถติดต่อได้ที่ 


ติดต่อ คุณพรประเสริฐ
โทร : 080-422-4466

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556


PROFIBUS (Process Field Bus)

  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานแบบหนึ่งสำหรับการติดต่อแบบอนุกรมกับอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงงาน ทำให้สามารถลดจำนวนสายลงแต่สามารถเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากขึ้น โดยได้ค่าที่ถูกต้องเที่ยงตรง
  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานระบบเปิดสำหรับการผลิตและควบคุมอัตโนมัติ ที่ไม่ถูกผูกมัดกับผู้ผลิตใดๆ
  • PROFIBUS จะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ(IEC61158,EN50170,50240)เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้มาตรฐานนี้สามารถติดต่อกัน และใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์
PROFIBUS-DP
  • PROFIBUS-DP (Profibus Decentral Peripherals) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครื่องจักร(Factory automation) จากข้อมูลการตลาด PROFIBUS ถือได้ว่าเป็นผู้นำทางด้าน Field Bus เลยก็ว่าได้เพราะมีคนนิยมใช้มากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาด Field Bus
  • ใช้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วมากเช่น อุปกรณ์ควมคุมมอเตอร์(control drives),PLC ระบบไฟฟ้ากำลัง และอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องการการต่อเชื่อมด้วยความเร็วสูง
PROFIBUS-PA
  • PROFIBUS-DP (Profibus Process Automation) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมกระบวนการผลิต(Process Control)โดยเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องมีความปลอดภัยสูงมาก
  • ใช้เพื่อทดแทนระบบที่ใช้การสื่อสัญญาณแบบ 4-20mA,และแบบ HART ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งในส่วนที่ต้องการความปลอดภัยจากการระเบิด โดยเพิ่มความสามารถในการ ถอดลดและเพิ่มได้โดยไม่มีผลต่ออุปกรณ์อื่น ๆ ในบัส 

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จุดเด่นของการใช้งาน PLC

  1. PLC มีการเดินสายที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  2. สามารถปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามเงื่อนไขการควบคุมระบบหรือเครื่องจักรได้ง่ายและรวดเร็ว
  3. การเขียนโปรแกรมควบคุมแบบแลดเดอร์มีส่วนคล้ายคลึงกับวงจร relay จึงทำให้เขียนได้ง่าย
  4. PLC มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
  5. การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงทำได้ง่าย
  6. สามารถลดเวลาในการหยุดเครื่องจักรลงได้
  7. ประหยัดการใช้พื้นที่การทำงานของเครื่องจักรได้ และสามารถใช้งานในระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
  8. สามารถต่อขยายระบบจำนวนอินพุตและเอาต์พุตได้ง่าย
  9. รองรับการเชื่อมต่อแบบโครงข่าย
  10. สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader),จอแสดงผลแบบสัมผัส (touch screen)
ข้อดี

  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อการทำงานจำเป็นต้องต่ออุปกรณ์รีเลย์และ timer > 10 ตัวขึ้นไป
  2. ลดเวลาในการออกแบบวงจรและการประกอบตู้ควบคุม
  3. มีขนาดเล็กและเป็นมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับวงจรรีเลย์ซีเควนซ์ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มากกว่า
  4. ป้องกันปัญหาในเรื่องของหน้าสัมผัส สายหยุดของวงจรรีเลย์ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. PLC มีโปรแกรมตรวจสอบตัวเอง ซึ่งสามารถวิเคราห์ความผิดปกติของเครื่อง ทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ Auxiliary Relay ใน PLC Mitsubishi

Auxiliary Relay (M)
FX-1S
FX-1N
FX-2N
FX-2NC
General
M0~M383
M0~M383
M0~M499
M0~M499
Latched
M384~M511
M384~M1535
M500~M3071
M500~M3071
Special
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255


ทำความรู้จักกับ GX Works2





ALL IN ONE PACKAGE

  • เป็นซอฟต์แวร์ใหม่ที่รวมทุกความสามารถสําหรับงาน PLC ไว้ในที่ เดียว
  • มีการใช้งานแบบ GX Developer โดยผู้ที่เคยใช้ GX Developer แบบเดิมสามารถใช้แบบ Simple Project ได้ และยังมี GX Developer แบบเดิมมาให้ เลือกใช้เป็น GX Works2 แท้ๆแบบ Structured Project ได้ เพื่อการ โปรแกรมในรูป IEC61131-3 เช่น Structured ladder และ FBD language (Function Block Diagram)
  • มี GX Simulator ให้ทดสอบการทํางานของโปรแกรมโดยไม่ต้องใช้ PLC จริง
  • มี GX Configurator เพื่อการใช้งานกับโมดูลพิเศษ (จากเดิมถ้าต้องการใช้ GX Configurator จะต้องซื้อต่าง หาก จึงมักใช้กับโมดูล พิเศษที่จําเป็น เท่านั้น

อุปกรณ์พื้นฐานใน PLC
อุปกรณ์พื้นฐานใน PLC
สัญลักษณ์ Symbol
ตัวอย่างการใช้งาน Example
Input
X
X0,X1,X14,X15
Output
Y
Y2,Y3,Y16
Relay(Aux)
M
M4,M13,M19
Timer
T
T0,T1,T27
Counter
C
C7,C8,C10
Data Register
D
D0,D10,D15

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การต่อวงจรอินพุตจะมี 2 แบบ คือ sink type และ source type

1. sink type ต่อ +24v เข้า s/s เมื่อมีการ active switch  input จะมีการเชื่อมต่อกับ Ground หรือ 0v ตามรูป
กระแสไหลออก PLC
 2.source type ต่อ 0v เข้า s/s เมื่อมีการ active switch input จะมีการเชื่อต่อกับ +24v ตามรูป
กระแสไหลเข้า PLC

โครงสร้าง PLC ประกอบด้วย ?






  • วงจรอินพุต (input interface) ของ PLC ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกกับ CPU เพื่อรับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกมาใช้เป็นเงื่อนไขในการควบคุม เช่นLimit switch, Proximity- switch, สวิตซ์ปุ่มกดต่างๆ  เป็นต้น 


  • วงจรเอาท์พุต (output interface) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น

  • หน่วยความจำ (memory unit)
    • RAM = Random Access Memory
    • EPROM = Eraseble Programmable Read Only Memory
    • EEPROM = Electronic Eraseble Programmavle Read Only Memory
  • หน่วยประมวลผล (CPU ;Control Processing Unit)
  • หน่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้า ( Power supply unit )  ทำหน้าที่ ปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้มีระดับที่เหมาะสมที่จะจ่ายให้กับ หน่วยประมวลผลกลาง , หน่วยอินพุท ,หน่วยเอ้าท์พุท นอกจากนี้ยังจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับการสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์ภายนอก เช่น โมดูลอินพุทและเอ้าท์พุทระยะไกล(Remote Input / Output Module) , อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556




  • PLC MITSUBISHI SERIES สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รุ่นใหญ่ ๆ ได้แก่
    • FX-Series (i/o max) = 256 points


    • A-Series (i/o max) = 1,024 point
    • Q-Series (i/0 max) = 4,096 point







รับทำโปรเจ็ค,รับปรึกษาโครงงานนักศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี และProjectงานทั่วไป 
  • รับทำโปรเจ็คนักศึกษา ทั้งโปรแกรมและชิ้นงานด้าน ไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์ , คอมพิวเตอร์ , ไมโครคอนโทรลเลอร์ (PIC , MEGAWIN )
  • รับทำงานโปรเจ็คต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท ห้างร้าน ทั่วไป
  • รับทำสื่อการเรียนการสอน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม (ไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา(ชิ้นงาน + คู่มือการใช้งาน)

สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อ

คุณพรประเสริฐ   
โทร : 080-422-4466
E-mail : ng.pornprasert@gmail.com

วันนี้เสนอคำว่า ระบบอัตโนมัติ ,what is automation system?
          
             ระบบอัตโนมัติ คือ ระบบใดๆ หรือ กลไก ที่สามารถเริ่มทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยทำงานตามโปรแกรมที่วางไว้ เช่นระบบรดน้ำอัตโนมัติ ระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ อาจเป็นการใช้ กลไก คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ควบคุม ต้องจะทำงานถูกต้องต่อเมื่อมีการวางแผน หรือ โปรแกรมโดยมนุษย์ทั้งสิ้น





วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

            HMI HMI เป็นอุปกรณ์ที่นำเสนอข้อมูลจากการประมวลผลให้กับผู้ปฏิบัติการที่เป็นมนุษย์และมนุษย์จะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการควบคุมขบวนการ Typical basic SCADA animation HMI (Human–Machine Interface) มักจะมีการเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลระบบ SCADA และโปรแกรมซอฟแวร์เพื่อหาแนวโน้ม, ข้อมูลการวินิจฉัย, และข้อมูลการจัดการเช่นขั้นตอนการบำรุงรักษาตามตารางที่กำหนด, ข้อมูลโลจิสติก, แผนงานโดยละเอียดสำหรับเครื่องตรวจจับหรือเครื่องจักรตัวใดตัวหนึ่ง, และแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system)

             ระบบ HMI มักจะนำเสนอข้อมูลให้กับบุคลากรในการดำเนินงานในรูปกราฟิกแบบแผนภาพเลียนแบบ ซึ่งหมายความว่าผู้ปฏิบัติสามารถดูแผนผังแสดงโรงงานที่ถูกควบคุม ยกตัวอย่างเช่นภาพของเครื่องสูบน้ำที่เชื่อมต่อกับท่อสามารถแสดงการทำงานและปริมาณของน้ำที่กำลังสูบผ่านท่อในขณะนั้น ผู้ปฏิบัติงานก็สามารถปิดการทำงานของเครื่องสูบน้ำได้ ซอฟแวร์ HMI จะแสดงอัตราการไหลของของเหลวในท่อที่ลดลงในเวลาจริง แผนภาพเลียนแบบอาจประกอบด้วยกราฟิกเส้นและสัญลักษณ์วงจรเพื่อเป็นตัวแทนขององค์ประกอบของกระบวนการหรืออาจประกอบด้วยภาพถ่ายดิจิตอลของอุปกรณ์ในกระบวนถูกทับซ้อนด้วยสัญลักษณ์ภาพเคลื่อนไหว

            แพคเกจ HMI สำหรับระบบ SCADA มักจะมีโปรแกรมวาดภาพเพื่อผู้ปฏิบัติการหรือบุคลากรบำรุงรักษาระบบที่สามารถใช้ในการเปลี่ยนวิธีการที่จุดเหล่านี้จะแสดงในอินเตอร์เฟซ การแสดงเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณไฟจราจรง่ายๆซึ่งแสดงสถานะของสัญญาณไฟจราจรที่เกิดขึ้นจริงในสนามหรืออาจซับซ้อนยิ่งจึ้นในการแสดงผลบนจอแบบหลายโปรเจ็กเตอร์ที่แสดงตำแหน่งทั้งหมดของลิฟท์ในตึกระฟ้าหรือแสดงรถไฟทั้งหมดของระบบการขนส่งทางราง

            ส่วนที่สำคัญของการใช้งานระบบ SCADA ส่วนใหญ่คือการจัดการเรื่องการเตือนภัย ระบบจะจับภาพตลอดไม่ว่าเงื่อนไขของสัญญาณเตือนจะเป็นอย่างไรเพื่อใช้พิจารณาเมื่อมีเหตุการณ์การเตือนภัยเกิดขึ้น เมื่อเหตุการณ์เตือนภัยได้รับการตรวจจับ มีสิ่งที่ต้องกระทำหลายอย่าง (เช่นสร้างตัวชี้วัดสัญญาณเตือนภัยเพิ่มอีกตัวหรือมากกว่าหรือส่งข้อความอีเมลหรือข้อความเพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติการหรือผู้จัดการระบบ SCADA ระยะไกลจะได้รับทราบ) ในหลายกรณีที่ผู้ปฏิบัติการ SCADA อาจจะต้องรับทราบเหตุการณ์เตือนที่เกิดขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาณเตือนบางตัวในขณะที่สัญญาณเตือนตัวอื่น ๆ ยังคงใช้งานจนกว่าเงื่อนไขของสัญญาณเตือนทั้งหมดจะถูกแก้ไข เงื่อนไขการเตือนปลุกต้องสามารถชี้ชัดอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นจุดเตือนภัยเป็นจุดสถานะแบบค่าดิจิตอลที่มีทั้ง'ปกติ'หรือ 'ALARM' ที่คำนวณตามสูตรขึ้นอยู่กับค่าในอนาล็อกและดิจิตอลโดยปริยาย: ระบบ SCADA อาจจะตรวจสอบโดยอัตโนมัติว่า ค่าอนาล็อกอยู่นอกค่าต่ำสุดหรือสูงสุด หรือไม่ ตัวอย่างของสัญญาณเตือนภัยรวมถึงไซเรน, กล่องป๊อปอัพขึ้นบนหน้าจอหรือพื้นที่สีระบายหรือสีกระพริบบนหน้าจอ (ที่อาจจะกระทำในลักษณะที่คล้ายกันกับไฟ "น้ำมันหมด" ในรถยนต์); ในแต่ละกรณี บทบาทของตัวสัญญาณเตือนภัยก็เพื่อดึงความสนใจของผู้ปฏิบัติการ ในการออกแบบระบบ SCADA, จะต้องดำเนินการเมื่อมีเหตุการณ์สัญญาณเตือนภัยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้น ๆ มิฉะนั้นสาเหตุพื้นฐาน (ซึ่งอาจจะไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่ตรวจพบ) อาจหาไม่พบ