วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556


PROFIBUS (Process Field Bus)

  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานแบบหนึ่งสำหรับการติดต่อแบบอนุกรมกับอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงงาน ทำให้สามารถลดจำนวนสายลงแต่สามารถเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากขึ้น โดยได้ค่าที่ถูกต้องเที่ยงตรง
  • PROFIBUS เป็นมาตรฐานระบบเปิดสำหรับการผลิตและควบคุมอัตโนมัติ ที่ไม่ถูกผูกมัดกับผู้ผลิตใดๆ
  • PROFIBUS จะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ(IEC61158,EN50170,50240)เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้มาตรฐานนี้สามารถติดต่อกัน และใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์
PROFIBUS-DP
  • PROFIBUS-DP (Profibus Decentral Peripherals) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครื่องจักร(Factory automation) จากข้อมูลการตลาด PROFIBUS ถือได้ว่าเป็นผู้นำทางด้าน Field Bus เลยก็ว่าได้เพราะมีคนนิยมใช้มากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาด Field Bus
  • ใช้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วมากเช่น อุปกรณ์ควมคุมมอเตอร์(control drives),PLC ระบบไฟฟ้ากำลัง และอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องการการต่อเชื่อมด้วยความเร็วสูง
PROFIBUS-PA
  • PROFIBUS-DP (Profibus Process Automation) เป็น PROFIBUS ที่ใช้สำหรับงานควบคุมกระบวนการผลิต(Process Control)โดยเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องมีความปลอดภัยสูงมาก
  • ใช้เพื่อทดแทนระบบที่ใช้การสื่อสัญญาณแบบ 4-20mA,และแบบ HART ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งในส่วนที่ต้องการความปลอดภัยจากการระเบิด โดยเพิ่มความสามารถในการ ถอดลดและเพิ่มได้โดยไม่มีผลต่ออุปกรณ์อื่น ๆ ในบัส 

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จุดเด่นของการใช้งาน PLC

  1. PLC มีการเดินสายที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  2. สามารถปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามเงื่อนไขการควบคุมระบบหรือเครื่องจักรได้ง่ายและรวดเร็ว
  3. การเขียนโปรแกรมควบคุมแบบแลดเดอร์มีส่วนคล้ายคลึงกับวงจร relay จึงทำให้เขียนได้ง่าย
  4. PLC มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
  5. การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงทำได้ง่าย
  6. สามารถลดเวลาในการหยุดเครื่องจักรลงได้
  7. ประหยัดการใช้พื้นที่การทำงานของเครื่องจักรได้ และสามารถใช้งานในระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
  8. สามารถต่อขยายระบบจำนวนอินพุตและเอาต์พุตได้ง่าย
  9. รองรับการเชื่อมต่อแบบโครงข่าย
  10. สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader),จอแสดงผลแบบสัมผัส (touch screen)
ข้อดี

  1. ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อการทำงานจำเป็นต้องต่ออุปกรณ์รีเลย์และ timer > 10 ตัวขึ้นไป
  2. ลดเวลาในการออกแบบวงจรและการประกอบตู้ควบคุม
  3. มีขนาดเล็กและเป็นมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับวงจรรีเลย์ซีเควนซ์ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มากกว่า
  4. ป้องกันปัญหาในเรื่องของหน้าสัมผัส สายหยุดของวงจรรีเลย์ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. PLC มีโปรแกรมตรวจสอบตัวเอง ซึ่งสามารถวิเคราห์ความผิดปกติของเครื่อง ทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ Auxiliary Relay ใน PLC Mitsubishi

Auxiliary Relay (M)
FX-1S
FX-1N
FX-2N
FX-2NC
General
M0~M383
M0~M383
M0~M499
M0~M499
Latched
M384~M511
M384~M1535
M500~M3071
M500~M3071
Special
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255
M8000~M8255


ทำความรู้จักกับ GX Works2





ALL IN ONE PACKAGE

  • เป็นซอฟต์แวร์ใหม่ที่รวมทุกความสามารถสําหรับงาน PLC ไว้ในที่ เดียว
  • มีการใช้งานแบบ GX Developer โดยผู้ที่เคยใช้ GX Developer แบบเดิมสามารถใช้แบบ Simple Project ได้ และยังมี GX Developer แบบเดิมมาให้ เลือกใช้เป็น GX Works2 แท้ๆแบบ Structured Project ได้ เพื่อการ โปรแกรมในรูป IEC61131-3 เช่น Structured ladder และ FBD language (Function Block Diagram)
  • มี GX Simulator ให้ทดสอบการทํางานของโปรแกรมโดยไม่ต้องใช้ PLC จริง
  • มี GX Configurator เพื่อการใช้งานกับโมดูลพิเศษ (จากเดิมถ้าต้องการใช้ GX Configurator จะต้องซื้อต่าง หาก จึงมักใช้กับโมดูล พิเศษที่จําเป็น เท่านั้น

อุปกรณ์พื้นฐานใน PLC
อุปกรณ์พื้นฐานใน PLC
สัญลักษณ์ Symbol
ตัวอย่างการใช้งาน Example
Input
X
X0,X1,X14,X15
Output
Y
Y2,Y3,Y16
Relay(Aux)
M
M4,M13,M19
Timer
T
T0,T1,T27
Counter
C
C7,C8,C10
Data Register
D
D0,D10,D15

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การต่อวงจรอินพุตจะมี 2 แบบ คือ sink type และ source type

1. sink type ต่อ +24v เข้า s/s เมื่อมีการ active switch  input จะมีการเชื่อมต่อกับ Ground หรือ 0v ตามรูป
กระแสไหลออก PLC
 2.source type ต่อ 0v เข้า s/s เมื่อมีการ active switch input จะมีการเชื่อต่อกับ +24v ตามรูป
กระแสไหลเข้า PLC

โครงสร้าง PLC ประกอบด้วย ?






  • วงจรอินพุต (input interface) ของ PLC ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกกับ CPU เพื่อรับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกมาใช้เป็นเงื่อนไขในการควบคุม เช่นLimit switch, Proximity- switch, สวิตซ์ปุ่มกดต่างๆ  เป็นต้น 


  • วงจรเอาท์พุต (output interface) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น

  • หน่วยความจำ (memory unit)
    • RAM = Random Access Memory
    • EPROM = Eraseble Programmable Read Only Memory
    • EEPROM = Electronic Eraseble Programmavle Read Only Memory
  • หน่วยประมวลผล (CPU ;Control Processing Unit)
  • หน่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้า ( Power supply unit )  ทำหน้าที่ ปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้มีระดับที่เหมาะสมที่จะจ่ายให้กับ หน่วยประมวลผลกลาง , หน่วยอินพุท ,หน่วยเอ้าท์พุท นอกจากนี้ยังจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับการสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์ภายนอก เช่น โมดูลอินพุทและเอ้าท์พุทระยะไกล(Remote Input / Output Module) , อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556




  • PLC MITSUBISHI SERIES สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รุ่นใหญ่ ๆ ได้แก่
    • FX-Series (i/o max) = 256 points


    • A-Series (i/o max) = 1,024 point
    • Q-Series (i/0 max) = 4,096 point







รับทำโปรเจ็ค,รับปรึกษาโครงงานนักศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี และProjectงานทั่วไป 
  • รับทำโปรเจ็คนักศึกษา ทั้งโปรแกรมและชิ้นงานด้าน ไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์ , คอมพิวเตอร์ , ไมโครคอนโทรลเลอร์ (PIC , MEGAWIN )
  • รับทำงานโปรเจ็คต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท ห้างร้าน ทั่วไป
  • รับทำสื่อการเรียนการสอน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม (ไฟฟ้า , อิเล็กทรอนิกส์) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา(ชิ้นงาน + คู่มือการใช้งาน)

สนใจสอบถามข้อมูล ติดต่อ

คุณพรประเสริฐ   
โทร : 080-422-4466
E-mail : ng.pornprasert@gmail.com

วันนี้เสนอคำว่า ระบบอัตโนมัติ ,what is automation system?
          
             ระบบอัตโนมัติ คือ ระบบใดๆ หรือ กลไก ที่สามารถเริ่มทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยทำงานตามโปรแกรมที่วางไว้ เช่นระบบรดน้ำอัตโนมัติ ระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ อาจเป็นการใช้ กลไก คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ควบคุม ต้องจะทำงานถูกต้องต่อเมื่อมีการวางแผน หรือ โปรแกรมโดยมนุษย์ทั้งสิ้น





วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

            HMI HMI เป็นอุปกรณ์ที่นำเสนอข้อมูลจากการประมวลผลให้กับผู้ปฏิบัติการที่เป็นมนุษย์และมนุษย์จะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการควบคุมขบวนการ Typical basic SCADA animation HMI (Human–Machine Interface) มักจะมีการเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลระบบ SCADA และโปรแกรมซอฟแวร์เพื่อหาแนวโน้ม, ข้อมูลการวินิจฉัย, และข้อมูลการจัดการเช่นขั้นตอนการบำรุงรักษาตามตารางที่กำหนด, ข้อมูลโลจิสติก, แผนงานโดยละเอียดสำหรับเครื่องตรวจจับหรือเครื่องจักรตัวใดตัวหนึ่ง, และแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system)

             ระบบ HMI มักจะนำเสนอข้อมูลให้กับบุคลากรในการดำเนินงานในรูปกราฟิกแบบแผนภาพเลียนแบบ ซึ่งหมายความว่าผู้ปฏิบัติสามารถดูแผนผังแสดงโรงงานที่ถูกควบคุม ยกตัวอย่างเช่นภาพของเครื่องสูบน้ำที่เชื่อมต่อกับท่อสามารถแสดงการทำงานและปริมาณของน้ำที่กำลังสูบผ่านท่อในขณะนั้น ผู้ปฏิบัติงานก็สามารถปิดการทำงานของเครื่องสูบน้ำได้ ซอฟแวร์ HMI จะแสดงอัตราการไหลของของเหลวในท่อที่ลดลงในเวลาจริง แผนภาพเลียนแบบอาจประกอบด้วยกราฟิกเส้นและสัญลักษณ์วงจรเพื่อเป็นตัวแทนขององค์ประกอบของกระบวนการหรืออาจประกอบด้วยภาพถ่ายดิจิตอลของอุปกรณ์ในกระบวนถูกทับซ้อนด้วยสัญลักษณ์ภาพเคลื่อนไหว

            แพคเกจ HMI สำหรับระบบ SCADA มักจะมีโปรแกรมวาดภาพเพื่อผู้ปฏิบัติการหรือบุคลากรบำรุงรักษาระบบที่สามารถใช้ในการเปลี่ยนวิธีการที่จุดเหล่านี้จะแสดงในอินเตอร์เฟซ การแสดงเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณไฟจราจรง่ายๆซึ่งแสดงสถานะของสัญญาณไฟจราจรที่เกิดขึ้นจริงในสนามหรืออาจซับซ้อนยิ่งจึ้นในการแสดงผลบนจอแบบหลายโปรเจ็กเตอร์ที่แสดงตำแหน่งทั้งหมดของลิฟท์ในตึกระฟ้าหรือแสดงรถไฟทั้งหมดของระบบการขนส่งทางราง

            ส่วนที่สำคัญของการใช้งานระบบ SCADA ส่วนใหญ่คือการจัดการเรื่องการเตือนภัย ระบบจะจับภาพตลอดไม่ว่าเงื่อนไขของสัญญาณเตือนจะเป็นอย่างไรเพื่อใช้พิจารณาเมื่อมีเหตุการณ์การเตือนภัยเกิดขึ้น เมื่อเหตุการณ์เตือนภัยได้รับการตรวจจับ มีสิ่งที่ต้องกระทำหลายอย่าง (เช่นสร้างตัวชี้วัดสัญญาณเตือนภัยเพิ่มอีกตัวหรือมากกว่าหรือส่งข้อความอีเมลหรือข้อความเพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติการหรือผู้จัดการระบบ SCADA ระยะไกลจะได้รับทราบ) ในหลายกรณีที่ผู้ปฏิบัติการ SCADA อาจจะต้องรับทราบเหตุการณ์เตือนที่เกิดขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาณเตือนบางตัวในขณะที่สัญญาณเตือนตัวอื่น ๆ ยังคงใช้งานจนกว่าเงื่อนไขของสัญญาณเตือนทั้งหมดจะถูกแก้ไข เงื่อนไขการเตือนปลุกต้องสามารถชี้ชัดอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นจุดเตือนภัยเป็นจุดสถานะแบบค่าดิจิตอลที่มีทั้ง'ปกติ'หรือ 'ALARM' ที่คำนวณตามสูตรขึ้นอยู่กับค่าในอนาล็อกและดิจิตอลโดยปริยาย: ระบบ SCADA อาจจะตรวจสอบโดยอัตโนมัติว่า ค่าอนาล็อกอยู่นอกค่าต่ำสุดหรือสูงสุด หรือไม่ ตัวอย่างของสัญญาณเตือนภัยรวมถึงไซเรน, กล่องป๊อปอัพขึ้นบนหน้าจอหรือพื้นที่สีระบายหรือสีกระพริบบนหน้าจอ (ที่อาจจะกระทำในลักษณะที่คล้ายกันกับไฟ "น้ำมันหมด" ในรถยนต์); ในแต่ละกรณี บทบาทของตัวสัญญาณเตือนภัยก็เพื่อดึงความสนใจของผู้ปฏิบัติการ ในการออกแบบระบบ SCADA, จะต้องดำเนินการเมื่อมีเหตุการณ์สัญญาณเตือนภัยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้น ๆ มิฉะนั้นสาเหตุพื้นฐาน (ซึ่งอาจจะไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่ตรวจพบ) อาจหาไม่พบ

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับทำโปรเจคทางด้าน PLC , SCADA และระบบAutomation
รับเขียนโปรแกรม PLC  ของยี่ห้อต่างๆ เช่น Siemens, AB, Mitsubishi และ Omron
รับเขียน SCADA    WINCC, Omron, RSVIEW และ Wonderware
รับเขียน HMI      WINCCFLEX,ESYVIEW,PROFACE
รับออกแบบระบบ  Automation, ตู้ ควบคุม
รับทำ project ที่เกี่ยวกับ PLC พร้อม training ให้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง
ให้คำปรึกษาด้านระบบ PLC แนะนำสินค้ารับจัดหาสินค้าด้าน Automation
สนใจติดต่อมาได้ที่คุณพรประเสริฐ 
โทร 080-422-4466
Email: automation999.engineer@gmail.com

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Whati's SCADA?
          SCADA นั้นย่อมาจากคำว่า Supervisory Control And Data Acquisition เป็นระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time ใช้ในการตรวจสอบสถานะตลอดจนถึงควบคุมการทำงานของระบบควบคุมในอุตสาหกรรมและงานวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น งานด้านโทรคมนาคมสื่อสาร การประปา การบำบัดน้ำเสีย การจัดการด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและก็าซ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ การขนส่ง กระบวนการนิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้าเป็นต้น  ตัวอย่างการใช้งานเช่นใช้ SCADAตรวจสอบข้อมูลเช่นการรั่วไหลของของเหลวที่เกิดขึ้นในท่อขนส่งจากตัวตรวจจับแล้วส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้พนักงานทราบ โดยส่งข้อมูลสู่ส่วนกลางของระบบ SCADA เป็นต้น นอกจากนั้น SCADA อาจทำหน้าที่คำนวนและประมวลผลข้อมูลที่ได้จากฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น PLC, Controller, DCS, RTU แล้วแสดงข้อมูลทางหน้าจอ หรือส่งสัญญาณควบคุมฮาร์ดแวร์ดังกล่าว เช่นหากอุณหภูมิของอุปกรณ์สูงเกินพิกัด ให้ทำการปิดอุปกรณ์นั้นเป็นต้น โดยสั่งงานผ่าน PLC หรือ Controller ที่ติดต่ออยู่ ทั้งนี้ SCADA สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากระบบควบคุมทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้พนักงานหรือโปรแกรมอื่น ๆ สามารถนำไปใช้งานได้ SCADA นั้นเข้าไปมีส่วนในงานควบคุมทั้งเล็กและใหญ่ที่ต้องการแสดงผล แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือควบคุมระบบต่าง ๆ จากส่วนกลาง เพื่อการทำงานของระบบรวมที่สัมพันธ์กัน มองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนและมีความรวดเร็วต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ระบบ SCADA ในปัจจุบันมีความสามารถในการสื่อสาร ควบคุม และประมวลผลข้อมูลจาก I/O ของอุปกรณ์เช่น PLC, DCS, RTU ได้ถึงระดับที่เกินหนึ่งแสน I/O แล้ว และได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถรองรับความต้องการใหม่ ๆ ของผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดมา SCADA ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักคือ หน่วยติดต่อและปฏิบัติการของผู้ใช้ระดับบน หน่วยควบคุมระยะไกล และหน่วยติดต่อระยะไกล

  รูปองค์ประกอบของระบบ SCADA    
         ู้ใช้สามารถตรวจสอบและควบคุมกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นระยะทางไกลได้โดย หน่วยติดต่อและปฏิบัติการของผู้ใช้ระดับบนเป็นเครื่องมือปฏิบัติการของผู้ใช้สำหรับตรวจสอบและควบคุม กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกับหน่วยควบคุมระยะไกล หน่วยควบคุมระยะไกลติดต่อกับหน่วยติดต่อระยะไกลโดยการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอลทางระบบเครือข่ายคมนาคม และหน่วยติดต่อระยะไกลเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อกับกระบวนการผลิต ประกอบด้วย หน่วยรับสัญญาณ และส่งสัญญาณของสัญญาณชนิดแอนะล็อก และสัญญาณชนิดดิจิตอล


รูปการติดตั้ง SCADA สำหรับตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูล และบริหารระบบควบคุม
     SCADA เหมาะสมกับงานประเภทใด 
          สกาดาเหมาะสำหรับการตรวจสอบ และเก็บรวบรวมข้อมูลของกระบวนการผลิต และการบริหารระบบควบคุมของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บริเวณกระบวนการผลิตครอบคลุมพื้นที่กว้าง หรือโรงงานอุตสาหกรรมมีกระบวนการผลิตอิสระติดตั้งกระจัดกระจายทั่วบริเวณพื้นที่การผลิต รวมถึงระบบสาธารณุประโภคต่าง ๆ เช่น  ระบบจ่ายไฟฟ้าและน้ำประปา ระบบท่อส่งก๊าซและน้ำมัน สกาดาไม่เหมาะสำหรับการควบคุมกระบวนการชนิดสัญญาณต่อเนื่องและการควบคุมกระบวนการแบบติดและดับของกระบวนการผลิตทั่วไป เนื่องจากสกาดาสามารถคำนวณและประวลผลข้อมูลโดยหน่วยประมวลผลภายในหน่วยติดต่อและปฏิบัติการของผู้ใช้ระดับบนซึ่งไม่มีหน้าท ี่สำหรับการควบคุมกระบวนการผลิตโดยตรงการรับสัญญาณวัดและส่งสัญญาณควบคุมระหว่างสกาดากับกระบวนการผลิตต้องผ่านการเชื่อมต่อ ของระบบเครือข่ายทำให้การควบคุมกระบวนการผลิตของสกาดาไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับระบบควบคุมแบบอื่น  

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

PLC คืออะไร ? 
     คำว่า PLC ย่อมาจาก Programmable Logic Controller เป็นอุปกรณ์ควบคุมอิเล็คทรอนิกส์ ที่มีหน่วย ความจำในการเก็บProgram สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ หรือเครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้ โดยการเรียกชื่อ แตกต่างกันออกไปดังนี้

- PC คือ Programmable Controller มีต้นกำเนิดมาจากสหราชอณาจักร ซึ่งในปัจจุบันนี้ PLC บางยี่ห้อได้ เรียก PLC ของตัวเองว่า PC โดยตัดคำว่า Logic ออกเพราะเขาเห็นว่า PLC ของเขาทำได้มากกว่า คำว่า Logic (ON-OFF) ธรรมดา แต่เนื่องจากPC กับไปตรงกับ Personal Computer เลยต้องเรียกว่า PLC กันต่อไป
- PLC คือ Programmable Logic Controller มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
- PBS คือ Programmable Binary System มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสวีเดน

     PLC เป็นเครื่องควบคุมอัติโนมัติที่สามารถโปรแกรมได้ PLC ถูกสร้างและพัฒนาแทนวงจรรีเลย์อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากได้เครื่องควบคุมที่มีราคาถูก สามารถใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย


วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รับ crack plc mitsubishi omron siemens ติดต่อได้ครับ 0804224466 หรือ email ng.pornprasert@gmail.com